การพัฒนาระบบการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ (1) เพื่อศึกษาปัญหาและความต้องการพัฒนาระบบการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ (2) เพื่อพัฒนาระบบการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ และ (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการใช้ระบบการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนาโดยมีการดำเนินการวิจัย 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาปัญหาและความต้องการ ระยะที่ 2 การพัฒนาระบบการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา และระยะที่ 3 การประเมินความพึงพอใจต่อการใช้ระบบการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหาร ครูและนักเรียนโรงเรียนชัยเกษมวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ระบบการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง
แบบประเมิน (ร่าง) ระบบการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง และประเมินความพึงพอใจต่อระบบการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระบบการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) ปัจจัยนำเข้า (2) กระบวนการ (3) ผลผลิต และ (4) ข้อมูลป้อนกลับ 2) ขั้นตอนการจัดการของระบบการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาฯ มี 3 ขั้นตอนได้แก่ (1) ขั้นเตรียมความพร้อม (2) ขั้นการจัดการระบบการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาฯ และ (3) ขั้นประเมินผลการจัดการระบบการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาฯ และ 3) ความพึงพอใจของการใช้ระบบการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กมลรัตน์ แก่นจันทร์. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาสกลนครเขต 3 (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
กฤษณะ วัฒนภักดีกิจ. (2550). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิชาการโรงเรียนบ้านมะขามทานตะวันสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์เขต 2 (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พิมพ์ศิริ ชาญพิทยา. (2546). การระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารในสถานศึกษาประถมศึกษา อำเภอด่านขุนทด จังหวัตนครราชสีมา (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2553). การบริหารงานวิชาการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. (พิมพ์คร้ังที่ 4). สงขลา: นำศิลป์ โฆษณา.
รุ่งนภา จินดามล. (2556). การศึกษาสภาพและปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 3(3), 98-107.
วรรลีบุตรเนียม. (2545). แนวทางการจัดระบบสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Rodriguez, C. (2007). ICT for educational and development (Electronic version). Dissertation Abstracts International,9(4),3-9.