การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่โรงเรียนคุณภาพของ โรงเรียนวัดบางขุนเทียนนอก

Main Article Content

ทรงพล เจริญคำ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหา ความจำเป็นของการบริหารสถานศึกษาสู่โรงเรียนคุณภาพและวิเคราะห์องค์ประกอบของการบริหารสถานศึกษาสู่โรงเรียนคุณภาพ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่โรงเรียนคุณภาพของโรงเรียนวัดบางขุนเทียนนอก 3) ทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่โรงเรียนคุณภาพของโรงเรียนวัดบางขุนเทียนนอก และ 4) ประเมินผลรูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่โรงเรียนคุณภาพของโรงเรียนวัดบางขุนเทียนนอก รูปแบบการวิจัยเป็นงานวิจัยและพัฒนา (Research and Development: R&D) ประชากรที่ศึกษา ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 1 คน ครู จำนวน 25 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน และคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง จำนวน 8 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 47 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ข้อคำถามประเด็นสนทนากลุ่ม 2) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง 3) แบบประเมิน และ 4) แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัญหา ความจำเป็นของการบริหารสถานศึกษาสู่โรงเรียนคุณภาพของโรงเรียนวัดบางขุนเทียนนอก สำนักงานเขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร พบปัญหา 1) ผู้เรียนขาดความรู้และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ 2) ครูผู้สอนมีการจัดการเรียนการสอนด้วยการใช้เทคโนโลยี และบูรณาการสื่อประกอบการสอนค่อนข้างน้อย ส่วนใหญ่เน้นเนื้อหามากกว่าวิธีสอน 3) อุปกรณ์เทคโนโลยีของสถานศึกษายังไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง และ 4) ขาดแหล่งเรียนรู้ ขาดแหล่งสนับสนุนในการปรับปรุงและพัฒนาอุปกรณ์ สถานที่ให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้ และองค์ประกอบของการบริหารสถานศึกษาสู่โรงเรียนคุณภาพ ประกอบด้วย 1) การพัฒนาคุณภาพนักเรียนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ระบบออนไลน์ 2) การพัฒนาคุณภาพครู 3) การพัฒนาระบบการบริหารจัดการที่มีคุณภาพ 4) การพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอน 5) การพัฒนาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และ 6) การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน 2. รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่โรงเรียนคุณภาพ มีจำนวน 6 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการ 2) จุดมุ่งหมาย 3) องค์ประกอบของโรงเรียนคุณภาพ 6 องค์ประกอบ 4) กระบวนการบริหารเพื่อพัฒนาสู่โรงเรียนคุณภาพ 6 ขั้นตอน 5) ผลลัพธ์ และ 6) เงื่อนไขความสำเร็จ 3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่โรงเรียนคุณภาพของโรงเรียนวัดบางขุนเทียนนอก พบว่ามีระดับปฏิบัติการโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (µ=4.60) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ=0.23) 4. ผลการประเมินผลของรูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่โรงเรียนคุณภาพของโรงเรียนวัดบางขุนเทียนนอก 1) ผลการประเมินระดับคุณภาพภายในโรงเรียนวัดบางขุนเทียนนอก ปีการศึกษา 2563 กับปีการศึกษา 2564 พบว่า โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับพัฒนาสูงขึ้น 2) นักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ปีการศึกษา 2564 สูงกว่าปีการศึกษา 2563 3) ความพึงพอใจของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย (µ=4.06) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ=0.13)

Article Details

How to Cite
เจริญคำ ท. (2023). การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่โรงเรียนคุณภาพของ โรงเรียนวัดบางขุนเทียนนอก. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 7(2), 343–359. https://doi.org/10.14456/jeir.2023.23
บท
บทความวิจัย

References

ทิวัตถ์ ศรีดำรงและคณะ. (2556). การบริหารสถานศึกษาสู่การเป็นโรงเรียนคุณภาพ: การศึกษาทฤษฎีฐานราก. วารสารบริหารการศึกษา มศว, 10(18), 52-60.

ธนชัย อุ่นอ้วน. (2564). การบริหารงานวิชาการในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4.วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย,5(3),507-518.

ธีรศักดิ์ อุปไมยอธิชัย. (2560). พื้นฐานการจัดการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2 ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิพนธ์ แสงเนตร. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนดีศรีตำบลต้นแบบกระทรวงศึกษาธิการ. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา,11(2),176-185.

บรรชา บุญสิงห์. (2556). การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนในโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอเปลือยน้อย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ประชา แสนเย็น. (2558). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก (ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ปัญญา ทองนิล. (2554). รูปแบบการพัฒนาสมรรถภาพการสอนโดยการบูรณาการแบบสอดแทรกสำหรับนักศึกษาครูเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุนันท์ รุ่งอรุณแสงทอง. (2561). การบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้เกิดประสิทธิภาพ (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อร่าม วัฒนะ. (2561). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์.

อุทุมพร สมศรี. (2560). การบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนระดับประถมศึกษาในอำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 8 เสนอที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

Barth, Roland S. (1991). Improving School from Within: Teachers, Parents and Principals Can Make the Difference. San Francisco: Jossey-Bass Publishers.

Greenwood, W. T. (1965). Management and Organizational Behavior. Ohio: South Western.

Hoy, W. K. & Miskel, C. G. (1991). Education Administration: Theory, Research and Practice.(4th ed). Singapore: McGraw–Hill.

Mooney, J.D. and Reiley, A.C. (1947). The principles of Organization. New York: Harper.

Sergiovanni, T. (1982).Ten Principles of Quality Leadership. Educational Leadership, 6(50),331-339.

Willer, D. (1967). Scientific Sociology: Theory and Method. Englewood Cliff, N.J.: Prentice-Hall.