ประสิทธิผลการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบล ของอำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี

Main Article Content

โสภณา รักวัฒนศิริกุล
พิภพ วชังเงิน

บทคัดย่อ

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบลมีความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาเด็กเล็กในแต่ละท้องถิ่น แต่ยังต้องพัฒนาประสิทธิผลการบริหารหลายประการ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิผลการบริหารของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก องค์การบริหารส่วนตำบลของอำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี และ 2) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลการบริหารของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก องค์การบริหารส่วนตำบลของอำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี จำแนกตามสถานภาพ ประชากรที่ศึกษา ได้แก่ ผู้บริหาร คณะกรรมการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ครูผู้สอน และครูผู้ดูแลเด็ก จำนวน 231 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 4 ข้อ  และประสิทธิผลการบริหารงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก องค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 26 ข้อ จำแนกเป็น 7 ด้าน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนระหว่างความแตกต่าง โดยการทดสอบค่าเอฟ และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว


ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิผลการบริหารของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก องค์การบริหารส่วนตำบลของอำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี อยู่ในระดับมากทุกด้าน ( gif.latex?\bar{x}= 4.04, S.D. = .29) เรียงตามลำดับ คือ ด้านการวางแผน (gif.latex?\bar{x} = 4.17, S.D. = .44) ด้านการงบประมาณ ( gif.latex?\bar{x}= 4.11, S.D. = .43) ด้านการจัดองค์การ ( gif.latex?\bar{x}= 4.10, S.D. = .44) ด้านการบริหารงานบุคคล ( gif.latex?\bar{x}= 4.06, S.D. = .45) ด้านการอำนวยการ ( gif.latex?\bar{x}= 4.02, S.D. = .38) ด้านการประสานงาน (gif.latex?\bar{x} = 3.86, S.D. = .44) และด้านการรายงาน ( gif.latex?\bar{x}= 3.82, S.D. = .49) ตามลำดับ ผลการเปรียบเทียบประสิทธิผลการบริหารของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลของอำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี จำแนกตามสถานภาพผู้บริหาร คณะกรรมการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ครูผู้สอน และครูผู้ดูแลเด็ก ในภาพรวม พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีสถานภาพแตกต่างกันมีประสิทธิผลการบริหารของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ ด้านการวางแผน ด้านการจัดองค์การ ด้านการบริหารบุคคล ด้านการประสานงาน ด้านการงบประมาณ และประสิทธิผลการบริหารในภาพรวมสำหรับผู้ตอบแบบสอบถามที่มีสถานภาพแตกต่างกันมีประสิทธิผลการบริหารของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ ด้านการอำนวยการ ส่วนประสิทธิผลการบริหารของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ด้านการรายงานไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Article Details

How to Cite
รักวัฒนศิริกุล โ., & วชังเงิน พ. (2023). ประสิทธิผลการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบล ของอำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 7(1), 1–18. https://doi.org/10.14456/jeir.2023.1
บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น. (2553). มาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น.

กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น. (2559). มาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ 2559. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น.

เกษม พงษ์เดช. (2558). การบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก :องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

คณะกรรมการพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ. (2562). มาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

ชีวิน อ่อนลออ และสุวคนธ์ ภาวะชาติ. (2557). การบริหารทรัพยากรในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลจังหวัดอุดรธานี. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา, 8(2),11.

ฐาณิศรา กาบบัวศรี. (2562). เทคนิคและกระบวนการ POSDCoRB. วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย, 1(3), 15-22.

ทองสุข แจ่มใส, วิทร วิภาหัสน์ และยุทธสิทธิ์ จันคูเมือง. (2559). การบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตพื้นที่อำเภอไชยวาน จังหวัดอุดรธานี. The National and International Graduates Research Conference 2016, January 15, 2016 At Poj Sarasin Building, Khon Kaen University,1275.

ปิยะธิดา นาคะเกษียร และยุวดี พงษ์สาระนันทกุล. (2557). การมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นกับการพัฒนาศักยภาพของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสู่การเป็นศูนย์เด็กเล็กต้นแบบ: กรณีศึกษาพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันตก. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 32(2), 181.

พรทิพย์ จันแดง. (2560).ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง,6(1), 90.

พระราชบัญญัติการพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. 2562. (2562, 30 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136.ตอนที่ 56 ก. หน้า 6.

รัศมี ตู้จินดา. (2557). การบริหารงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสิงห์บุรี (การศึกษาค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

รุ่งอรุณ เถื่อนใหญ่. (2553). ศึกษากระบวนการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

วิดาพร สุขแสงนิล. (2563). ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดําเนินงานตามมาตรฐานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอำเภอสามพรานและอำเภอนครชัยศรีจังหวัดนครปฐม. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 6(2), 300-301.

ศิรินนภา นามมณี, อนุศักดิ์ เกตุสิริ และจิณณวัตร ปะโคทัง. (2557). รูปแบบการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มีประสิทธิผล สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 9(2), 114.

สมใจ พรมทองบุญ. (2559). ประสิทธิผลการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตพื้นที่อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา (สารนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

สันติ บุญภิรมย์. (2552). หลักการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: บุ๊ค พอยท์.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). แนวทางการขยายผลการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยกรณีศึกษา: การพัฒนาคุณภาพศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. สืบค้นเมื่อ 1 มกราคม 2564, จาก https://www. nesdc.go.th.

Clampett, B. (2016). Quality Early Childhood Development Centres: An Exploratory Study of Stakeholder Views (Master’s Thesis). Universityof Cape Town.

Douglass, A.L. (2019). Leadership for Quality Early Childhood Education and Care. OECD Education Working Paper, 211, 4.

Gulick, L., and Urwick, L. (1937). Paper on the science of administration. New York: Institute of Public Administration.

Hayakawa, C. M., & Reynolds, A. J. (2014). Key Elements and Strategies of Effective Early ChildhoodEducation Programs: Lessons from the Field. Handbook of Child Well-Being: Theories, Methods and Policies in Global Perspectiv, 2993-3023.

Janet Marie Hooten. (2019). Job Retention of Childcare Workers in a Military Child Development Center (Doctoral dissertation). EducationWalden University.

Slot, P. (2020). Structural and Process Quality in Early Childhood Education and Care Provisions in Poland and the Netherlands: A Cross-National Study Using Cluster Analysis. Early Education and Development, 31(6),1-17.