ภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อคุณภาพการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อคุณภาพการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อคุณภาพการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 จำแนกตามขนาดโรงเรียน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 จำนวน 294 คนได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบไปด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าที ค่าเอฟ และเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ แอลเอสดี
ผลการวิจัย (1) ความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับระดับภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อคุณภาพการปฏิบัติงานโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (2) การเปรียบเทียบภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อคุณภาพการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 จำแนกตามขนาดโรงเรียนแตกต่างกันพบว่ามีภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อคุณภาพการปฏิบัติงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ข้อเสนอแนะควรศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อคุณภาพการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษาสังกัดอื่น ๆ ควรมีการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลสำเร็จในการดำเนินงานการพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2
องค์ความรู้จากงานวิจัยนี้ เป็นประโยชน์เพื่อพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อคุณภาพการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา เพื่อการบริหารสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เกียรติพงษ์ อุดมธนะธีระ. (2565). วงจรการควบคุมคุณภาพ (PDCA Cycle) หรือ วงจรเด็มมิ่ง (Deming Cycle). สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2564,จาก https://www.iok2u.com/index.php/article/innovation/ 240-pdca-cycle-deming-cycle
ณัฐธยาน์ ทับทอง. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3. วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษาและสังคมศาสตร์, 9(2), 15-24.
ดุษฎีรัตน์ โกสุมภ์ศิริ. (2558). ภาวะผู้นำแบบดุลภาพ: ภาวะผู้นำศตวรรษที่ 21. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม2564, จาก https://bit.ly/2K5JgU5
ธีระ รุญเจริญ. (2550). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ:ข้าว ฟ่าง.
นาตยา ทับยาง (2562) การปฏิบัติงานของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
พิมล โชติธนอธิวัฒน์. (2560). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองพนัสนิคม (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์และคณะ.(2560).ครุศึกษาและการพัฒนาวิชาชีพครู. พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สพป.ประจวบคีรีขันธ์ เขต 2. (2564). ข้อมูลพื้นฐานโรงเรียนสังกัด สพป.ประจวบคีรีขันธ์ เขต 2. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2564,จาก https://www.pkn2.go.th/inhopkn2.php.
สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (2550). ภาวะความเป็นผู้นำ. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.
สุวิมล โพธิ์กลิ่น. (2560). การบริหารสถานศึกษายุคใหม่ที่มีประสิทธิผล. (พิมพ์ครั้งที่ 1). อุบลราชธานี: ยง สวัสดิ์อินเตอร์กรุ๊ป.
อภินันท์ จันตะนี.(2550). สถิติและการวิจัยทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. 5th ed. New York: Harper&Row.