การมีส่วนร่วมการจัดการข่าวปลอมของเครือข่ายชุมชนศึกษากรณี เครือข่ายเฝ้าระวังข่าวปลอมชีวิตวิถีใหม่ (New Normal)

Main Article Content

นรภัทร ปลื้มวงศ์
ชุลีรัตน์ เจริญพร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมของเครือข่ายเฝ้าระวังข่าวปลอม ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) และ 2) แนวทางการจัดการข่าวปลอม (Fake news) เป็นงานวิจัยเชิงโดยศึกษาข้อมูลจากเอกสาร การลงพื้นที่ และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 5 คน ประกอบด้วย ประธานเครือข่ายเฝ้าระวังข่าวปลอม ชีวิตวิถีใหม่ (News Normal) ผู้ดำเนินรายการคุยถึงแก่น ช่อง NBT2HD
เจ้าพนักงานประชาสัมพันธ์ กรมประชาสัมพันธ์ รองผู้กำกับ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี และตัวแทนศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมประเทศไทย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีวิเคราะห์เชิงเนื้อหาร่วมกับการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า 1) การวางรากฐานอย่างชัดเจนในการบริหารจัดการเครือข่ายฯ เพื่อให้เกิดความมั่นคง โดยการสร้างความรู้ ความเข้าใจ ให้สมาชิกภายในกลุ่มมีส่วนร่วมในการจัดการข่าวปลอม โดยใช้วิธีการสร้างการรับรู้ การมีส่วนร่วม การรู้เท่าทัน การตรวจสอบ วิเคราะห์แยกแยะ ให้สมาชิกได้เข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ความเป็นไปเป็นมาของกระบวนการจัดการข่าวปลอม รับรู้ วิธีการตรวจสอบที่ถูกต้องเกี่ยวกับการจัดการข่าวปลอมที่จะเกิดขึ้น มีการกำหนดแนวทางในการดำเนินกิจกรรมร่วมกันภายในกลุ่มทำให้การบริหารจัดการของกลุ่มเกิดความเข้มแข็งและยั่งยืน 2) กระบวนการในการจัดการข่าวปลอมจำเป็นต้องอาศัยการดำเนินงานร่วมกันของเครือข่ายเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการ ดำเนินการทั้งมาตรการเชิงรับและเชิงรุก ประกอบด้วย 4 ด้านหลัก คือ 1. การสร้างความร่วมมือ  2. การตรวจสอบ 3. การส่งเสริมความรู้  4. การบังคับใช้กฎหมาย 

Article Details

How to Cite
ปลื้มวงศ์ น. ., & เจริญพร ช. (2023). การมีส่วนร่วมการจัดการข่าวปลอมของเครือข่ายชุมชนศึกษากรณี เครือข่ายเฝ้าระวังข่าวปลอมชีวิตวิถีใหม่ (New Normal). วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 7(1), 248–259. https://doi.org/10.14456/jeir.2023.17
บท
บทความวิจัย

References

จันทิมา เขียวแก้ว และคณะ. (2560). การใช้สื่อสังคมออนไลน์และการรู้สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ด้านสุขภาพของแรงงานกัมพูชาในประเทศไทย. วารสารวิจัยสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ, 10(1), 33-46.

ชนัญสรา อรนพ ณ อยุธยา และคณะ. (2562). สื่อแวดล้อมนิเวศสื่อที่ดีเพื่อส่งเสริมสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง.

ชนัญสรา อรนพ ณ อยุธยา และคณะ. (2563). “นิเวศสื่อ” เพื่อพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 3(2), 146-169.

บุษกร เชี่ยวจินดากานต์. (2561). เทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษา. วารสารศิลปศาสตร์ปริทัศน์ คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 13(25), 103-118.

พีระ จิรโสภณ และคณะ. (2559). ความรู้เท่าทันการสื่อสารยุคดิจิทัลกับบทบาทในการกำหนดแนวทางการปฏิรูปการสื่อสาร ในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

พีระพงษ์ วรภัทร์ถิระกุล. (2564). ภาวะผู้นำ และวัฒนธรรมองค์การที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.). วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 7(2), 60-71.

ภูชิตต์ ภูริปาณิก. (2557). โครงสร้างโทรทัศน์สาธารณะ Thai PBS กับการมีส่วนร่วมของพลเมือง. วารสารวิจัย มสด, 10(1), 97-111.

มาโนช ชุ่มเมืองปัก. (2560). การผลิตสื่อทางเลือกโดยชาวไทยเชื้อสายปกาเกอะญอ. Veridian e-Journal, Silpakorn University, 10(2), 748-761.

สุรพงษ์ โสธนะเสถียร. (2557). สารกับการสื่อสารความหมาย. กรุงเทพฯ: แดเน็กซ์อินเตอร์ คอร์ปอเรชั่น.

Lum, C. M. K. (2014). Media Ecology: Contexts, concepts, and currents. In Fortner, R. S., & Fackler, P.M. (Ed.), The Handbook of Media and Mass Communication Theory (pp.137-150). New Jersy: John Wiley & Sons.

Postman, N. (1970). The Reform English curriculum. In Eurich, A.C. (Ed.), High school 1980: The shape of the future in American secondary education (pp.160-168). New York: Pitman.