บทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการจัดการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1

Main Article Content

จุรีพร นิลแก้ว
สมใจ สืบเสาะ

บทคัดย่อ

การบริหารสถานศึกษาในยุคการศึกษา 4.0 ผู้บริหารสถานศึกษาต้องส่งเสริมการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาเยาวชนให้มีคุณภาพและมีศักยภาพพร้อมที่จะพัฒนาประเทศชาติและดำรงชีวิตอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการจัดการเรียนรู้ ของครูโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 2) เพื่อเปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 รูปแบบการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ พื้นที่วิจัย คือ โรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 จำนวน  329 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี  1 ชนิด คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ การแจกแจงความถี่ ทดสอบสถิติค่าที สถิติค่าเอฟ และวิเคราะห์ความแปรปรวน


ผลการวิจัยพบว่า 


  1. ด้านบทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 พบว่า บทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการจัดการเรียนรู้ของครูโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับ มาก

  2. ด้านการเปรียบเทียบ บทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 จำแนกตาม อายุ ระดับการศึกษา และขนาดโรงเรียน พบว่า ในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

องค์ความรู้จากงานวิจัยนี้ เป็นประโยชน์ เพื่อพัฒนาบทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการจัดการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นการศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1

Article Details

How to Cite
นิลแก้ว จ., & สืบเสาะ ส. (2023). บทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการจัดการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 7(1), 83–98. https://doi.org/10.14456/jeir.2023.6
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). คู่มือผู้เข้ารับการพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาจสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

ฐนิตา กสิคุณ. (2560). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู โรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต, 13(1), 290-303.

ณัทชลิดา บุตรดีวงษ์. (2561). การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนแสนสุข สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามธัยมศึกษา เขต 18 (การศึกษาค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกริก.

ประจวบ แจ้โพธิ์. (2557). ความคิดเห็นของครูต่อบทบาทผู้บริหารในการพัฒนาการ ทำงานเป็นทีมของครูในโรงเรียน สำนักงานเขตบึ่งกุ่ม สังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารสุทธิปริทัศน์, 28(87), 269-285.

พุทธิพงษ์ ทองเขียว. (2562). บทบาทของผู้บริหารในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนรู้ตามการรับรู้ของผู้บริหารและครูมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษาเขต 1 (วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ภาวินี นิลดำอ่อน. (2556). ความสัมพันธ์ ระหว่างภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงกับสมรรถนะการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี เขต 29. วารสารบัณฑิตศึกษา, 11(53), 151-162.

วัฒนชัย บุญสนอง. (2561). บทบาทของผูบริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการใชเทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการเรียนการสอน ตามการรับรูของครู สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์.

ศศิรดา แพงไทย. (2560). บทบาทผู้บริหารกับการนำนวัตกรรมการศึกษาสู่การปฏิบัติ: กรณีโรงเรียนคูคาพิทยาสรรพ์. วารสารสวนสุนันทาและการวิจัย, 9(1), 124-134.

ศศิธร บัวทอง.(2560). การวัดและประเมินทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. Veridian E-Journal Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(2), 1,856-1,867.

สุวัฒน์ จุลสุวรรณ์. (2563). การศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(5), 184-198.

สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ และคณะ. (2552). วิธีวิทยาการประเมินทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552 - 2561). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

อมรรัตน์ เตชะนอก. (2563). การบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศในศตวรรษที่ 21. Journal of Modern Learning Development, 5(6), 364-373.

อำนวย พลรักษา. (2556). ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Cronbach, L.J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York: Harper & Row.

Yamane, T.(1973).Statistics: An Introductory Analysis. (3th ed). New York: Harper & Row.