การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการบริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1

Main Article Content

รัชนก ไทยรักษ์
สมใจ สืบเสาะ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการบริหารสถานศึกษา และ 2) เพื่อเปรียบเทียบการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการบริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 จำแนกตามตำแหน่ง วุฒิการศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารและครู จำนวน 304 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยการคำนวณจากสูตร ทาโร่ ยามาเน ใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ จำแนกตามตำแหน่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติค่าที และสถิติค่าเอฟ โดยวิเคราะห์ความแปรปรวน


ผลการวิจัยพบว่า 1. การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการบริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 พบว่าการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการบริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากเรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ ด้านการบริหารวิชาการ ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการบริหารทั่วไป และด้านการบริหารงบประมาณ 2. การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการบริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 จำแนกตามตำแหน่ง โดยภาพรวมตำแหน่งผู้บริหารกับหัวหน้างานและครู แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณารายด้าน ด้านการบริหารวิชาการ ด้านการบริหารงบประมาณ  ด้านการบริหารงานบุคคล และ ด้านการบริหารทั่วไป ตำแหน่งผู้บริหารกับหัวหน้างานและครูแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการบริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 จำแนกตามวุฒิการศึกษา  ระดับการปฏิบัติด้านการบริหารวิชาการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 กับ วุฒิการศึกษาต่างกันต่างกันค่าเฉลี่ยของระดับคะแนนการปฏิบัติด้านการบริหารงบประมาณแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 กับวุฒิการศึกษาต่างกันต่างกันค่าเฉลี่ยของระดับคะแนนการปฏิบัติด้านการบริหารงานบุคคลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และวุฒิการศึกษาต่างกันต่างกันค่าเฉลี่ยของระดับคะแนนการปฏิบัติด้านการบริหารทั่วไปแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


องค์ความรู้จากงานวิจัยนี้ เป็นประโยชน์เพื่อพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการบริหารสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพ

Article Details

How to Cite
ไทยรักษ์ ร., & สืบเสาะ ส. (2023). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการบริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 7(1), 52–67. https://doi.org/10.14456/jeir.2023.4
บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ ช่างหลอม.(2559).ปัญหาและความต้องการการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานวิชาการตามความเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย,6(2),66-78.

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.(2561).นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (พ.ศ.2561-2580). สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2564, จาก https://ict.moph.go.th/ th/extension/718

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.(2555).รายงานประจำปี 2555 กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.

กระทรวงศึกษาธิการ.(2551).หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ.(2564).ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2565. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2564, จาก https://cbethailand.com//เอกสารที่เกี่ยวข้อง/นโยบายการจัดการศึกษากร

จิตรจรูญ ทรงวิทยา.(2561).ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา. Journal of Roi Kaensarn Academi, 3(1),54-59.

ทิพวัลย์ นนทเภท.(2558).การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารของสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

ธนัช พัธนภาคินทร์.(2557).แนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 2 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

บุญชมศรีสะอาด.(2541).วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.

พรทิพย์ สลุงอยู่.(2554).การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

พันธยุทธ ทัศระเบียบ.(2562).การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนเอกชน สอนศาสนาอิสลาม ในจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช,11(1),128-138.

พิมพ์สุจี นวลขวัญ.(2555). สภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

วรวุฒิ หลำจะนะ.(2563).สภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานโรงเรียนของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

สฎายุ ธีระวณิชตระกูล.(2557). กฎหมายสำหรับผู้บริหารการศึกษา. ชลบุรี: เก็ทกู๊ดครีเอชั่น.

สิรินลักษณ์ ขาวดา.(2560). การใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการบริหารโรงเรียนชุมชนบ้านอ่างเวียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

หฤทัย อรุณศิริ.(2558).ปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสถานศึกษาตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี,3(2),43-50.

อุศมาน หลีสันมะหมัด.(2560).สภาพและปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 16 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

Yamane,T.(1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rded. New York: Harper and Row Publications.