การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเพื่อเสริมสร้างวินัย คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ดีงามของนักเรียน โรงเรียนเทศบาลอินทปัญญา วัดใหญ่อินทาราม สังกัดเทศบาลเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี

Main Article Content

สกันฌ์วุฒิ เศรษฐีกมล

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเพื่อเสริมสร้างวินัย คุณธรรม จริยธรรม
และค่านิยม ที่ดีงามของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลอินทปัญญา วัดใหญ่อินทาราม สังกัดเทศบาลเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี ใช้วิธีการดำเนินการวิจัยลักษณะการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed Methods Design) ด้วยการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Methods) ร่วมกับการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Methods) เพื่อการตอบคำถามการวิจัยให้ครอบคลุมวัตถุประสงค์ 4 ประการ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างวินัย คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ดีงามของนักเรียน โรงเรียนเทศบาลอินทปัญญา วัดใหญ่อินทาราม 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเพื่อเสริมสร้างวินัย คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ดีงามของนักเรียนให้มีประสิทธิภาพ 3) เพื่อศึกษาผลการประเมินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างวินัย คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยม ที่ดีงามของนักเรียน โรงเรียนเทศบาลอินทปัญญา วัดใหญ่อินทาราม ตามรูปแบบการบริหารจัดการเพื่อเสริม สร้างวินัย คุณธรรม จริยธรรม
และค่านิยมที่ดีงามของนักเรียน และ 4) เพื่อศึกษาผลการประเมิน คุณลักษณะ อันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลอินทปัญญา วัดใหญ่อินทาราม หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างวินัย คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ดีงามตามรูปแบบการบริหารจัดการ เพื่อเสริมสร้างวินัย คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ดีงามของนักเรียนหลังการจัดกิจกรรมพัฒนาตามรูปแบบการบริหารจัดการเพื่อเสริมสร้างวินัย คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ดีงามของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง กำหนดได้ ดังนี้ 1) กลุ่มตัวอย่าง สำหรับศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ในการบริหารจัดการเพื่อเสริมสร้างวินัย คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ดีงามของนักเรียน เป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 3 คน ครูผู้สอน
ในโรงเรียน เทศบาลอินทปัญญา วัดใหญ่อินทาราม จำนวน 57 คน 2) กลุ่มตัวอย่าง ที่รับการเสริมสร้างวินัย คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ดีงามของนักเรียน เป็นนักเรียนในระดับประถมศึกษา จำนวน 454 คน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 –6 โดยมีครูที่ปรึกษา เป็นผู้ประเมิน 3) กลุ่มตัวอย่าง สำหรับประเมินการจัดกิจกรรมเสริมสร้างวินัย คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ดีงามของนักเรียน คือ ครูจำนวน 18 คน เครื่องมือประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย 1) เครื่องมือประเมินครูระดับประถมศึกษา ได้แก่ แบบประเมินความรู้ความเข้าใจของครู คือ แบบประเมินความสามารถในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ และแบบประเมินความสามารถ ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครู ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ และแบบประเมินความคิดเห็นของครูระดับประถมศึกษาที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้และ 2) เครื่องมือประเมินนักเรียน ได้แก่ แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน มีลักษณะเป็นแบบประเมินเพื่อให้ครูที่ปรึกษาประจำชั้น เป็นผู้ประเมิน นักเรียนทุกคนในชั้น เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่าชนิด 5 ตัวเลือก คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด สอบถามเกี่ยวกับคุณธรรมที่แสดงออก ตามเป้าหมายคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ด้าน ดำเนินการ ตรวจสอบความเหมาะสมและความสอดคล้องของเครื่องมือโดยผู้เชี่ยวชาญ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า 1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน โดยภาพรวม โรงเรียนเทศบาลอินทปัญญา วัดใหญ่อินทาราม มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างวินัย คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ดีงามของนักเรียนใน ปีการศึกษา 2561 ทั้งหมด 23 กิจกรรมคิดเป็นกิจกรรมที่มีการพัฒนา 11 กิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 47.83 และไม่มีการพัฒนา 12 กิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 52.17 และในปีการศึกษา 2562 มีพฤติกรรมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพิ่มขึ้นเป็น 18 พฤติกรรม คิดเป็นร้อยละ 78.26 และมีกิจกรรมที่ไม่มีการพัฒนามีเพียง 5 กิจกรรม คือ จัดให้มีการประกวดระหว่างชั้น เรื่องความรับผิดชอบต่าง ๆ จัดให้มีการบรรยายหรืออ่านสารคดี นิทาน เกี่ยวกับธรรมะในวันธรรมสวนะ จัดนักเรียนที่มีความสามารถทางธรรมะออกเผยแพร่ธรรม จัดให้มีการแสดงละครธรรมะ เช่น ลูกกตัญญู ลูกหมีเรียนรู้ เศษผ้าคุณยาย และจัดให้มีโครงการพัฒนาค่านิยม 12 ประการ
2. ผลการประเมินรูปแบบการบริหารจัดการเพื่อเสริมสร้างวินัย คุณธรรม จริยธรรม
และค่านิยมที่ดีงามของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลอินทปัญญา วัดใหญ่อินทาราม โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.47 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.74 เมื่อพิจารณาแยกตามด้านการประเมินจากมากไปหาน้อย พบว่า ผลการประเมินด้านการนำไปใช้จัดกิจกรรม อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.62
ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.60 รองลงมาเป็นด้านลักษณะรูปแบบ อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.48 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.70 และด้าน คุณค่าของรูปแบบอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.31 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.87 ตามลำดับ
3. ผลการประเมินรูปแบบการบริหารจัดการเพื่อเสริมสร้างวินัย คุณธรรม จริยธรรม
และค่านิยม ที่ดีงามของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลอินทปัญญา วัดใหญ่อินทาราม ตามคู่มือรูปแบบการบริหารจัดการ เพื่อเสริมสร้างวินัย คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ดีงามของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลอินทปัญญา วัดใหญ่อินทาราม ครูมีความสามารถในการเขียนแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ของครูตามรูปแบบการบริหารจัดการเพื่อเสริมสร้างวินัย คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ดีงามของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลอินทปัญญา วัดใหญ่อินทาราม มีผลการประเมินเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก
4. ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านวินัย คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ดีงามของนักเรียน โดยมีครูที่ปรึกษาเป็นผู้ประเมินนักเรียนพฤติกรรมคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่แสดงออก จำนวน 20 รายการ ในภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
เศรษฐีกมล ส. (2023). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเพื่อเสริมสร้างวินัย คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ดีงามของนักเรียน โรงเรียนเทศบาลอินทปัญญา วัดใหญ่อินทาราม สังกัดเทศบาลเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 7(3), 968–982. https://doi.org/10.14456/jeir.2023.65
บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). หลักสูตรพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลง เพื่อรองรับการกระจายอำนาจสำหรับผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษา. นครปฐม: สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

นภสร ขัตติยะ. (2562). ความมีวินัยและแนวทางการเสริมสร้างความมีวินัยในตนเองของนักเรียนโรงเรียนพิริยาลัย จังหวัดแพร่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 37 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

เผชิญ กิจระการ และคณะ. (2539). แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

บุญมา บ่อไทย. (2563). สภาพและแนวทางการบริหารการส่งเสริมความมีวินัยในตนเองของนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษา บุรีรัมย์เขต 1 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

มาเรียม นิลพันธุ์. (2552). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (6 เมษายน 2560). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 143 ตอนที่ 40 ก, หน้า 1-90.

โรงเรียนเทศบาลอินทปัญญา วัดใหญ่อินทาราม. (2561). รายงานประเมินตนเอง ประจำปีการศึกษา 2561. ชลบุรี: โรงเรียนเทศบาลอินทปัญญา วัดใหญ่อินทาราม.

วรพล อังกุรัตน์. (2559). ทสม 457 หลักวาทศิลป์สำหรับผู้นำ ภาควิชา ภาษาไทยและภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน. (2542). การใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงาน. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2547). รายงานการสังเคราะห์แนวคิดและวิธีการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ: สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). ร่วมปฏิบัติรูปการเรียนรู้กับครูต้นแบบ การปฏิรูปการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญการสอนแบบ "การเรียนแบบร่วมมือตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างความรู้". กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

สุรางค์ โคว้ตระกูล. (2553). จิตวิทยาการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Cecil, C.B. (2003). The Concept of Autocyclic and Allocyclic Controls on Sedimentation and Stratigraphy, Emphasizing the Climatic Variable. SEPM Special Publication, 77, 13-20.

Krathwohl, D. R., Bloom, B. S. & Masia, B. B. (1964). Taxonomy of educational objectives: The classification of educational goals, Hand book II: Affective domain. New York: David Mckay Company In corporated.