ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์

Main Article Content

ศิลปิน ทิพย์นพคุณ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ 1)เพื่อศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาและการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา 2)เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามขนาดสถานศึกษาและ 3)เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 291 คน โดยการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากตารางสำเร็จ ของ ยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติค่าเอฟโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์  


ผลการวิจัย พบว่า 1) ด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาและการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา พบว่าโดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงตามค่าเฉลี่ย คือ ด้านการกระตุ้นทางปัญญา ด้านการมีบารมี ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล และด้านการสร้างแรงบันดาลใจ 2) ด้านเปรียบเทียบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามขนาดสถานศึกษา พบว่า ภาพรวมและรายด้านมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ด้านความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา พบว่ามีความสัมพันธ์กันอยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

How to Cite
ทิพย์นพคุณ ศ. (2023). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 7(1), 202–216. https://doi.org/10.14456/jeir.2023.14
บท
บทความวิจัย

References

กฤติกา วงศ์ใหญ่. (2558). คุณลักษณะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่พึงประสงค์ตามทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานการศึกษากรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตประเวศ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

จิระเดช สวัสดิภักดิ์. (2562). การศึกษาบทบาทภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาในจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

เฉลิมพล ประเสริฐสังข์.(2559).ทฤษฎีภาวะผู้นำทางวิชาการ. สืบค้นเมื่อ 18 ตุลาคม 2564, จาก www.gotoknow.org

ชยาภาภรณ์ ทองบ่อ. (2562). อิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงต่อประสิทธิผลการบริการสาธารณะ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอนาแก จังหวัดนครพนม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

นิภาพรรณ ออมิตา. (2554). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลยเขต 1 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 3. (2553). ราชกิจจานุเบกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

พิทักษ์ ทิพย์วารี. (2559). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางนวัตกรรมสำหรับผู้บริหาสถาบันการพลศึกษา. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา,11(1),57-70.

รังสรรค์ ประเสริฐศรี. (2551). ภาวะผู้นำ Leadership. กรุงเทพฯ: ธนธัช.

รุ้งนภา จันทร์ลี. (2562). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต 2 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

สมเกียรติ บาลลา. (2554). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา อำเภอเมืองปทุมธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ปทุมธานี เขต 1 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สัมมา รธนิธย์.(2554).การวิเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฎ (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์. (2562). ข้อมูลสารสนเทศ วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย. สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2564, จาก http://sesaopkn/index.php

สำเนา หมื่นแจ่ม.(2555).การพัฒนากคุณภาพการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยใช้สื่อเทคโนโลยี. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

สุชาวดี เผ่าผม. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา กับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอนในกลุ่มเครือข่าย สถานศึกษาบุเปือยยางใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย,5(3),597-610.

สุมณฑา ทายุโก. (2557). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดปัตตานี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

Bass, B. M., & Avolio, B. J. (1994). Improving Organization. Effectiveness Through Transformational Leadership. California: Sage Publications.

Bernard M and Bass, B.M. (1985). Leadership and Performance Beyond Expectation. New York: The Free Press.

Burns, J.M. (1978). Leadership. New York: Harper & Row.

Charles Gabbert. (2005). The Relationship Between Chief Executive Transformational Leadership and Hospital High Performance. Minnesota: Capella University.

Cook, C.W., Hunsaker, P. and Coffey, R.E. (1997). Management and organizational behavior. 2nded. Boston: Irwin McGraw-Hill.

Covey, S.R. (1996). Three Roles of the Leadership in the New Paradigm. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice- Hall.

Garvin, D.A. (1993) Building a Learning Organization. Harvard Business Review, 71, 78-91.

Likert, R. (1976). New Way of Managing Conflict. New York: McGraw-Hill.

McGill, M.E., and Slocum, J.W. (1994). The Smart Organization: How to Build a Business that Learns and Adapts to Marketplace Needs. New York: John Wiley & Sons.

Oke, Adegoke., Munshi, Natasha. and Walumbwa, Fred O. (2009). The Influence of Leadership on Innovation Processes and Activities. Organizational Dynamics, 38(1), 64-72.

Pedler, M. Burgoyne & Boydell. (1991). The learning company: A strategy for sustainable development. Maidenhead: Mcgraw-Hill.

Senge, P.M. (2000) The Fifth Discipline: Strategy and Tool for Building a Learning Organization. New York: Doubleday.

Senge, P.M.(1990).The Fifth Discoing: The Art and Practice of the Learning Organization. New York: Doubleday Currency.

Ubben, G. C., and others (2001).The principal: creative leadership for effective School. Boston: Allyn & Bacon.

Yamane, T. (1973). Statistics and Introduction Analysis. (3rd ed.). New York: Harper and Row.