การบริหารองค์การที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของบุคลากร สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)

Main Article Content

พีระพงษ์ วรภัทร์ถิระกุล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารองค์การที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของบุคลากร 2) เปรียบเทียบการบริหารองค์การ และการมีส่วนร่วมของบุคลากร และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์การบริหารองค์การที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของบุคลากร ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ มีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 170 คน โดยใช้สูตรของเครจซี่และมอร์แกน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test, F-test ในการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์แบบถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า


  1. การบริหารองค์การด้านลักษณะของพนักงานในหน่วยงาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด () = 3.61 มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับเห็นด้วย และการมีส่วนร่วมของบุคลากรด้านการมีส่วนร่วมในการตรวจสอบผลดำเนินงาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด () = 3.64 มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับเห็นด้วย

  2. การเปรียบเทียบการบริหารองค์การ และการมีส่วนร่วมของบุคลากรโดยจำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคลของบุคลาก พบว่า โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน ยกเว้นในเรื่องระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05

  3. ความสัมพันธ์การบริหารองค์การที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของบุคลากร พบว่าการบริหารองค์การในด้านลักษณะของหน่วยงานมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง (r = .943) และความสัมพันธ์ของบุคลากรในด้านการมีส่วนร่วมในการวางแผน มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง (r =.733**) โดยผลการศึกษาการบริหารองค์การที่มีอิทธิพลทางตรงร่วมกันต่อการมีส่วนร่วมของบุคลากร พบว่า (R2=0.84, R2Adjusted=0.83, Sr2=3.34, F=23.52, p<0.001) ตามลำดับ

Article Details

How to Cite
วรภัทร์ถิระกุล พ. (2022). การบริหารองค์การที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของบุคลากร สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.). วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 6(3), 809–822. https://doi.org/10.14456/jeir.2022.16
บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ เต็มโศภินกุล. (2560). การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การและความผูกพันต่อองค์การของ ข้าราชการกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน. วารสารวิทยบริการ, 28(1), 64-73.

กัลยา วานิชย์บัญชา.(2560). การวิเคราะห์สถิติชั้นสูงด้วย SPSS for Window (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจํากัด สามลดา.

กัลยา สว่างคง และวิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2559). อิทธิพลของการรับรู้การสนับสนุนจากหัวหน้างานและจากองค์กรที่มีผลต่อความตั้งใจในการลาออกจากงานผ่านความผกูพันด้านความรู้สึกต่อองค์กร ของพนักงานบริษัทนําเที่ยวในกรุงเทพมหานคร. วารสารการจัดการสมัยใหม่มหาวิทยาลัยสุโขทัย ธรรมาธิราช, 14(1), 91-103.

จิรศักดิ์ จิยะจันทน์. (2563). การบริหารองค์การที่มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานสายงานปฏิบัติการนครหลวง บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(1), 240-253.

จิรัชญา ศุขโภคา. (2561). อิทธิพลการรับรู้การสนับสนุนจากหัวหน้างานและจากองค์กรที่มีผลต่อ ประสิทธิภาพในการทำงานผ่านความผูกพันต่อองค์กรและความไว้วางใจของพนักงานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 11(2),1835-1852.

ถิตรัตน์ พิมพาภรณ์. (2561). กลยุทธ์การจัดการความสุขในการทำงานขององค์การ: ปัจจัยเชิงสาเหตุและผลลัพธ์ (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธนวัฒน์ วิเศษสมบัติ และ ฐิติมา ไชยะกุล. (2561). ผลกระทบของแรงจูงใจ ความพึงพอใจ และความผูกพันต่อองค์กร ที่มีต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการใอุตสาหกรรมยานยนต์ ของเขตนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด 1 จังหวัดระยอง. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 4(3), 14-26.

พภัสสรณ์ วรภัทร์ถิระกุล. (2562). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรที่มีต่อการบริหารสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สาขาเขตพื้นที่ 13 (กรุงเทพมหานคร). วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(1), 486-498.

พราวพิชชา เถลิงพล. (2563). ประสิทธิผลการบริหารจัดการระบบประกันสุขภาพของกลุ่มแรงงานต่างด้าวในจังหวัดสมุทรสาคร. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(1), 254-267.

พิชญา แก้วสระแสน และไพบูลย์ อาชารุ่งโรจน์ (2560). ความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยในการทำงาน ความเครียด และประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ของพนักงานบริษัทอสังหาริมทรัพย์ในกรุงเทพมหานคร. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยศิลปากร, 11(2), 1042-1057.

วรชัย สิงหฤกษ์ และวิโรจน์ เจษฏาลักษณ์.(2560). อิทธิพลของสภาพแวดล้อมในการทำงานที่มีต่อประสิทธิภาพการทำงาน ผ่านความผูกพันต่อองค์การของลูกจ้างสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัย ธรรมาธิราช. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 12(2), 203-210.

วรรณภา ลือกิตินันท์. (2560). ตัวแบบความสัมพันธ์ระหว่างความสุขในการทำงานและความผูกพันต่อองค์กร. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 9(3), 55-66.

ศิริจันทรา เซียงฝุง.(2561). วัฒนธรรมและความผูกพันที่ส่งผลต่อความสุขในองค์การ ของพนักงานโครงการส่งน้ำ และบำรุงรักษาเขื่อนแม่กลอง.วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 5(2). 45-58.

ศิริพงศ์ พฤทธิพันธุ์. (2551). ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับธุรกิจ. กรุงเทพฯ: ฮาซันพริ้นติ้ง.

สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ภาค 1. (2563). รายงานแผนยุทธศาสตร์ สำนักงาน กสทช. ประจําปี 2564. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2564, จาก https://nbtc.go.th