สมรรถนะด้านการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1

Main Article Content

วริษา สิทธิคง
สมใจ สืบเสาะ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อทราบระดับสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาด้านการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 จำแนกตามขนาดโรงเรียนและประสบการณ์การทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารและครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 326 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร่ สุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ ตามขนาดของโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาด้านบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จำนวน 40 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยค่าเอฟ โดยวิเคราะห์ความแปรปรวน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาด้านการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 พบว่าสมรรถนะด้านการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก
2. ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาด้านการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 จำแนกตามขนาดโรงเรียนและประสบการณ์การทำงาน โดยรวมทุกด้านแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
สิทธิคง ว., & สืบเสาะ ส. . (2023). สมรรถนะด้านการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 7(1), 99–112. https://doi.org/10.14456/jeir.2023.7
บท
บทความวิจัย

References

ดาวนภา หัทยานนท์. (2556). การศึกษาสมรรถนะของการบริหารของผู้บริหารระดับกลาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคใต้ (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธัญญัค วงษ์สุข. (2559). ความต้องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

นิมารูนี หะยีวาเงาะ และ ณมน จีรังสุวรรณ. (2556). การวิเคราะห์ช่องว่างด้านความสามารถไอซีทีสำหรับุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี, 24(1), 81-97.

ภานุวัฒน์ สิงห์หาญ. (2556). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการบริการด้านการศึกษาในโรงเรียนสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วิริยะ โกษิต. (2560). การศึกษาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาของ โรงเรียนวัดป่าประดู่ จังหวัดระยอง (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศกลวรรณ พาเรือง. (2554). การพัฒนาสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของนิสิตนักศึกษาครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์. (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สุนิษา คิดใจเดียว. (2556). ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ Management Information System. นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

อนุวัฒน์ ปาพรม. (2555). สมรรถนะด้านการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1 (การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร.

อัจฉณพร หิรัญอมรกุล. (2556). มาตรฐานสมรรถนะครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษา เพื่อรองรับประชาคมอาเซียน (ดุษฎีนิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.