การจัดการเชิงกลยุทธ์ยุคดิจิทัลสู่ความเป็นเลิศในการบริหารวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์

Main Article Content

กริชนาฏ สมพงษ์
สมใจ สืบเสาะ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการจัดการเชิงกลยุทธ์ยุคดิจิทัลสู่ความเป็นเลิศในการบริหารวิชาการ 2) เพื่อศึกษาขอบข่ายการบริหารงานวิชาการ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการเชิงกลยุทธ์ยุคดิจิทัลสู่ความเป็นเลิศในการบริหารวิชาการกับขอบข่ายการบริหารงานวิชาการ
และ 4) เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการเชิงกลยุทธ์ยุคดิจิทัลสู่ความเป็นเลิศในการบริหารวิชาการ ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์


การวิจัยนี้เป็นการวิจัยผสานวิธี กลุ่มตัวอย่าง ปีการศึกษา 2564 จำนวน 284 คน เครื่องมือเป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบสอบถาม และแบบประเมินความเหมาะสมของแนวทางวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานทดสอบสมมติฐานด้วยค่าสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน


ผลการวิจัยพบว่า


  1. การจัดการเชิงกลยุทธ์ยุคดิจิทัลสู่ความเป็นเลิศในการบริหารวิชาการ ภาพรวมและรายด้านมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก

  2. ขอบข่ายการบริหารวิชาการ ภาพรวมและรายด้านมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก

  3. ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการเชิงกลยุทธ์ยุคดิจิทัลสู่ความเป็นเลิศในการบริหารวิชาการและขอบข่ายการบริหารวิชาการ มีความสัมพันธ์กันทิศทางเดียวกันในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

  4. แนวทางการจัดการเชิงกลยุทธ์ยุคดิจิทัลสู่ความเป็นเลิศในการบริหารวิชาการ ภาพรวมอยู่ในระดับเหมาะสมมาก มีดังนี้ ด้านการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมขององค์กรและวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ ด้านการกำหนดกลยุทธ์และจัดทำกลยุทธ์การบริหารงานวิชาการยุคดิจิทัลขององค์กรสู่ความเป็นเลิศ ด้านการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ และด้านการประเมินและการควบคุมกลยุทธ์ องค์ความรู้จากงานวิจัยนี้ เป็นประโยชน์ เพื่อพัฒนาการบริหารวิชาการให้มีความเป็นเลิศ

Article Details

How to Cite
สมพงษ์ ก., & สืบเสาะ ส. (2022). การจัดการเชิงกลยุทธ์ยุคดิจิทัลสู่ความเป็นเลิศในการบริหารวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 6(3), 849–864. https://doi.org/10.14456/jeir.2022.19
บท
บทความวิจัย

References

ณัฎฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2552). การจัดการเชิงกลยุทธ์ Strategic Management .(ฉบับปรับปรุงใหม่) กรุงเทพฯ: ซีเอ็ด ยูเคชั่น.

นุชจรินทร์ ปิ่นทอง และ มณฑา จำปาเหลือง (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อกระบวนการบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา ในจังหวัดเพชรบุรีสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2553). การบริหารงานวิชาการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. (พิมพ์คร้ังที่ 4). สงขลา: นำศิลป์ โฆษณา.

เรวัตร์ ชาตรีวิศิษฐ์ และคณะ. (2553). การจัดการเชิงกลยุทธ์: strategic management. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ถังทรัพย์ การพิมพ์.

วรางคณา ผลประเสริฐและคณะ. (2554). การจัดการเชิงกลยุทธ์ในการบริหารโรงพยาบาล. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุพานี สฤษฎ์วานิช. (2553). การบริหารเชิงกลยุทธ์ แนวคิด และทฤษฎี. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ด ยูเคชั่น.

สุเมธ งามกนก. (2557). นโยบายและการวางแผน. กรุงเทพฯ: เนติกุลการพิมพ์.

สุเมธ งามกนก. (2564). การบริหารงานวิชาการในยุคดิจิทัล. วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย, 3(1), 59-67.

Pearce, J.A & Robinson, R.B. (2000). Strategic management. NJ: McGraw-Hill.