ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภค ผลิตภัณฑ์แปรรูปชามะดันในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลทั่วไปของผู้บริโภคผลิตภัณฑ์แปรรูปชามะดันในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 2) เพื่อศึกษาทัศนคติและพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์แปรรูปชามะดันในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 3) เพื่อศึกษาการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและศักยภาพ ด้วย SWOT
ของธุรกิจผลิตภัณฑ์แปรรูปชามะดันของจังหวัดนครนายก และ 4) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการบริโภคผลิตภัณฑ์แปรรูปชามะดันในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 400 ราย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 53.8 เป็นเพศหญิง มีอายุมากที่สุดระหว่าง 20-29 ปี
ร้อยละ 51 มีอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 33.5 ผลการศึกษาทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภค พบว่า ความถี่ในการซื้อชามะดันหรือน้ำผลไม้มากที่สุด คือ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ ร้อยละ 39.9 จากวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและศักยภาพด้วย SWOT โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า ธุรกิจผลิตภัณฑ์แปรรูปมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง สำหรับส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการบริโภคผลิตภัณฑ์แปรรูปชามะดันในกรุงเทพและปริมณฑลโดยรวมมีความสำคัญอยู่ในระดับมาก คือ มีค่าเฉลี่ย 4.08 (S.D. =0.959)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กิตยาภรณ์ ลำลึก. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อเครื่องดื่มชาสมุนไพรพร้อมดื่มของผู้บริโภคในจังหวัดปทุมธานี (การศึกษาค้นคว้าอิสระธุรกิจมหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
กลุ่มเกษตรกรทายาท. (2555). แผนธุรกิจชาสมุนไพรไทบรู (ชาผักหวาน). สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2564, จากhttp://www.clinictech.ops.go.th/online/filemanager/fileclinic/F1/files/business_plan_tea.pdf
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา. (2564). ชาใบข้าว สร้างอาชีพชุมชนอย่างยั่งยืน. สืบค้นเมื่อ 12มิถุนายน 2564, จาก https://www.eef.or.th/communities/2563-beginning-81/
จุฑารัตน์ กลิ่นปทุม และพัฒน์ พัฒนรังสรรค์. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อผลิตภัณฑ์ชาชงสมุนไพรในเขตเมืองพัทยา.วารสารบัณฑิตศึกษา, 13(21), 205-214.
ชาย โพธิสิตา.(2554).ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: อมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์ พับลิชชิ่ง.
ทะนุพงศ์ กุสุมา ณ อยุธยา. (2564). ทำให้ปลาแดดเดียวของชาวบ้านท่าทราย นครนายก มีรสอร่อยและปลอดภัยต่อสุขภาพ. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2564, จาก https://www.technologychaoban.com/ marketing/article_162612
ธิดาวรรณ วงเกรียงไกร. (2557). พฤติกรรมการบริโภคชาผลไม้โอชายะของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
บุญฑวรรณ วิงวอน. (2556). การเป็นผู้ประกอบการโลกาภิวัตน์ (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิบูล ทีปะปาล และธนวัฒน์ ทีปะปาล. (2559). การจัดการเชิงกลยุทธ์ (ปรับปรุงใหม่). กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์.
พิษณุ จงสถิตวัฒนา. (2554). การบริหารการตลาด การวิเคราะห์ กลยุทธ์ และการตัดสินใจ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศูนย์ราชการุณย์สาภากาชาดไทย เขาล้วน. (2564). สรรพคุณของมะดัน. สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2564, จาก https://khaolan.redcross.or.th/มะดัน/
สมชาย กิจยรรยง. (2561). กลยุทธ์ทางการตลาดสำหรับผู้บริหาร. กรุงเทพฯ: Smart Life.
สาริณี มาป้อง และ พัชรี สุริยะ. (2558). พฤติกรรมและปัจจัยที่มีผลต่อการบริโภคชาใบหม่อนของผู้บริโภคในจังหวัดขอนแก่น. แก่นเกษตร, 43(1), 739-743.
สุตาภัทร คงเกิด และ จิรภัทร กิตติวรากูล. (2563). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการปรับภาพลักษณ์ โดยการใช้สมุนไพร ในการเพิ่มมูลค่า ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ตำบลบ้านธิ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(8), 69-88.
สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน). (2564). การทำการเกษตรแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า. สืบค้นเมื่อ 4 กรกฎาคม 2564, จากhttps://www.arda.or.th/knowledge_detail.php?id =11#:~:text
สำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง. (2563). ประกาศสำนักทะเบียนกลางจำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563. สืบค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2564, จากhttps://www.pptvhd36.com/news/สังคม/143600
Allied Market Research.(2564).Global Tear Market. สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2564, จากhttps://www.alliedmarketresearch.com/tea-market.
Belch, G. E., & Belch, M. A. (2001). Advertising and promotion: An integrated marketing communications perspective (4th ed.). New York: Irwin McGraw-Hill.
BLT Bangkok. (2564). เทรนด์สุขภาพมาแรง คนเมืองยุคใหม่ตั้งเป้าชีวิตดีมีสุข. สืบค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม 2564, จาก https://www.bltbangkok.com/bangkok-update/4405/
Kabilan S.J., Baskar R. & Poorani G. (2019). Herbal Tea Formulation for Health Rejuvenation: Nutritional, Physicochemical and Sensory Analysis. International Journal of Engineering and Advanced Technology (IJEAT), 9(4), 783-788.
Kolter, P. (2000). Marketing Management. New Jersey: Prentice Hall International, Inc.
Kotler & Keller.(2012). Marketing management: The millennium (14thed.).New Jersey: Prentice-Hall Inc.
Marketingoops. (2564). ผ่าเทรนด์อาหาร-เครื่องดื่ม “Sugarless” ในยุคที่ “น้ำตาล” กลายเป็นผู้ร้ายในสายตาผู้บริโภค. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2564, จาก https://www.marketingoops.com/news/biz-news/sugarless-food-and-beverage-trend/.
Solomon, M. R. (1996). Consumer Behavior (3rd ed). Englewood Cliff, NJ: Prentice-Hall.
Wilkie, M. (1995). Time-Place Learnin. Current Directions in Psychological,4(3), 85-89.
Wirtz.J and Lovelock.C. (2016). Services Marketing. London. World Scientific Publishing.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rded). New York: Harper and Row Publications.