สหกรณ์สีขาวด้วยธรรมาภิบาลเพื่อสร้างความเชื่อมั่นในระบบสหกรณ์ ในยุคความปกติถัดไป

Main Article Content

กฤษฎา ฉิมพลีวัฒน์

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอ ผลการทบทวนแนวคิดเกี่ยวกับสหกรณ์ธรรมาภิบาล และนโยบายสหกรณ์สีขาวด้วยธรรมาภิบาล เป็นการนำเสนอถึงจุดเริ่มต้นของการจัดตั้งสหกรณ์ ความหมายและความสำคัญของธรรมาภิบาลที่มีต่อการบริหารจัดการสหกรณ์ ผลการทบทวนพบว่า สหกรณ์ หมายถึง องค์การของบรรดาบุคคลซึ่งรวมกลุ่มกันโดยสมัครใจในการดำเนินวิสาหกิจที่เป็นเจ้าของร่วมกันและควบคุมตามหลักประชาธิปไตยเพื่อสนองความต้องการและความจำเป็นรวมทั้งความหวังร่วมกันทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ในขณะที่ธรรมาภิบาลหมายถึง การบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดีถูกบัญญัติขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1989 และได้ถูกนำเข้ามาใช้ในประเทศไทยในช่วงปี พ.ศ. 2540 ส่วนสหกรณ์สีขาวเป็นนโยบายที่เน้นการนำเอาหลักธรรมาภิบาลเข้ามาใช้โดยเชื่อมกับการดำเนินงานในสหกรณ์โดยมีสมาชิกในสหกรณ์ เจ้าหน้าที่และบุคลากรที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ขับเคลื่อน ซึ่งเป็นการนำหลักธรรมาภิบาลที่เกี่ยวข้องมาสร้างความเข้มแข็งและความซื่อสัตย์ให้แก่องค์กรภาครัฐ โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่การตรวจสอบขาดประสิทธิภาพอันเนื่องมาจากผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื่อไวรัสโคโรน่า 2019 (Covid-19) และนอกจากการบริหารที่ดีแล้ว การดำเนินกิจการสหกรณ์ตามนโยบายสหกรณ์สีขาวจะช่วยสร้างภาพลักษณ์และความเชื่อมั่นในระบบสหกรณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพในยุคความปกติถัดไป

Article Details

How to Cite
ฉิมพลีวัฒน์ ก. (2022). สหกรณ์สีขาวด้วยธรรมาภิบาลเพื่อสร้างความเชื่อมั่นในระบบสหกรณ์ ในยุคความปกติถัดไป. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 6(3), 624–636. https://doi.org/10.14456/jeir.2022.2
บท
บทความวิชาการ

References

กรมส่งเสริมสหกรณ์. (2561). คำแนะนำสหกรณ์สีขาวด้วยธรรมาภิบาล. กรุงเทพฯ: กลุ่มวิจัยและพัฒนาสหกรณ์นอกภาคการเกษตร กองพัฒนาสหกรณ์ด้านการเงินและร้านค้า กรมส่งเสริมสหกรณ์.

เกษม วัฒนชัย. (2546). ธรรมาภิบาลกับบทบาทของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและแผนการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

จารุวรรณ สุขุมาลพงษ์. (2556). แนวโน้มคอร์รัปชันในประเทศไทย (รายงานการวิจัย). สำนักกฎหมาย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

ชัยวัฒน์ สถาอานันท์. (2549). อาวุธมีชีวิต? : แนวคิดเชิงวิพากษ์ว่าด้วยความรุนแรง. กรุงเทพฯ: ฟ้าเดียวกัน.

ไชยวัฒน์ ค้ำชู. (2545). ธรรมาภิบาล. กรุงเทพฯ: น้ำฝน.

ณัฐ วิมลพีรพัฒนา. (2556). แนวทางการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารงานองค์กรกระบวนการยุติธรรม: ศึกษากรณีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล.

นพคุณ เดชะผล. (2558). การศึกษา ความพึงพอใจของสมาชิกต่อคุณภาพการให้บริการ ของสหกรณ์การเกษตรปฏิรูปที่ดินหนองกอก จํากัด (สารนิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นิวัติไชย เกษมมงคล. (2564). ดัชนีรับรู้ทุจริตปี 63 ไทยอยู่อันดับ 104 ของโลก. สืบค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2564, จาก https://www.infoquest.co.th/2021/62561

ปกรณ์ ศิริประกอบ. (2562). 3 พาราไดม์ทางรัฐประศาสนศาสตร์: แนวคิด ทฤษฎี และการนำไปใช้จริง. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พีรพล ไทยทอง. (2560). ธรรมาภิบาลกับการบริหารงานภาครัฐยุคใหม่ไทยแลนด์ 4.0. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(2), 607-615.

มนต์ชัย ช่วยประสม และคณะ. (2563). หลักธรรมาภิบาลของพนักงานต่อการปฏิบัติงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา, 2(2), 29-54.

มานะ นิมิตมงคล. (2564). ห่วงปัญหาคอร์รัปชั่นช่วงโควิด จุดอ่อนปกปิดข้อมูลตรวจสอบ. สืบค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2564, จาก https://www.dailynews.co.th/articles/415175/

ระบบสืบค้นคำพิพากษาและคำสั่งศาลอาญา. (2559). คดีอาญาหมายเลขดำที่ อ.3339/2559. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2564, จาก https://decision.coj.go.th/decision/court/

ศจีรัตน์ เมธีสุวภาพ. (2563). คุณค่าของนิติวิทยาศาสตร์ในทรรศนะของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตที่รายงานต่อสภาวิชาชีพบัญชี. วารสารสุทธิปริทัศน์, 34(109), 186-201.

สมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย. (2564). The 'Next Normal’ in workplaces. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2564, จาก http://www.pmat.or.th/20712/content1/?contentid=38141

สหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขจังหวัดมุกดาหาร จำกัด. (2561). สหกรณ์สีขาวด้วยธรรมาภิบาล. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2564,จาก https://www.mukcoop.com/Doc/sahakorn_white.pdf

สำนักงานสหกรณ์จังหวัดกาญจนบุรี. (2562). งานส่งเสริมและพัฒนา การสร้างธรรมาภิบาลในสหกรณ์ โครงการสหกรณ์สีขาวด้วยธรรมาภิบาล. กาญจนบุรี: สำนักงานสหกรณ์จังหวัดกาญจนบุรี.

สำนักงานสหกรณ์จังหวัดสระแก้ว. (2560). ความหมายของสหกรณ์. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2564, จากhttps://web.cpd.go.th/sakaeo/index.php/abot1/2017-06-16-03-40-24

OBEC SuffECON SEP4SDGs. (2020). ประวัติสหกรณ์. สืบค้นเมื่อ 27 ตุลาคม 2564, จากhttps://suffecon.com

Osborne, S. P. (2010). Introduction: The (New) Public Governance: A Suitable Case for Treatment? In The New Public Governance? : Emerging Perspectives on the Theory and Practice of Public Governance. Stephen P. Osborne (ed.). London: Routledge.

Rhodes. R.A.W. (1996). The New Governance: Governing without Government. Political Studies, 44, 652-667.