แนวทางการจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบบุคลิกภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยไทยจากตัวชี้วัดไมเยอร์ บริจส์

Main Article Content

นงลักษณ์ ไหว้พรหม
เพ็ญนภา ทองคำ

บทคัดย่อ

การพัฒนาบุคลิกภาพของนักศึกษาเพื่อที่จะวางแผนในการออกแบบจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแก่ผู้เรียนให้สอดคล้องนั้น ผู้สอนควรทราบและเข้าใจบุคลิกภาพของกลุ่มผู้เรียนอย่างชัดเจนตามแบบวัดบุคลิกภาพที่ได้มาตรฐานและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อสำรวจบุคลิกภาพของนักศึกษาตามแบบวัดบุคลิกภาพของไมเยอร์ บริจส์ และเปรียบเทียบบุคลิกภาพของนักศึกษาจำแนกตามคณะ เพศ และชั้นปี กลุ่มตัวอย่างจำนวน 620 คน เป็นนักศึกษากำลังศึกษาอยู่ระดับปริญญาตรี
ปีการศึกษา 2562 เครื่องมือวิจัยคือ แบบวัดบุคลิกภาพของไมเยอร์ บริจส์ แบ่งลักษณะของบุคลิกภาพในมิติต่าง ๆ 16 รูปแบบ ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติ ร้อยละ ความถี่ t-test และ One-way Anova ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีมีรูปแบบบุคลิกภาพทั้งหมด 8  รูปแบบ ได้แก่อยู่กับความเป็นจริง ชอบเสาะหาข้อเท็จจริง มีความละเอียดอ่อน เป็นผู้ปกป้องที่ดี จินตนาการสูง เป็นนักคิดกลยุทธ์ที่มีแผนการ กล้าหาญและเป็นนักทดลองที่อยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง มีความยืดหยุ่นสูง และเป็นศิลปิน ฉลาด กระฉับกระเฉง และเข้าใจผู้อื่นได้เป็นอย่างดี ใช้สัญชาตญาณ กระฉับกระเฉง และกระตือรือร้น ฉลาดและเป็นนักคิด ลักษณะบุคลิกภาพจำแนกตามคณะของนักศึกษาเท่านั้นที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อพิจารณาเป็นรายคู่ อีกทั้งข้อเสนอแนะในการออกแบบการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับบุคลิกภาพที่พบได้ถูกนำเสนอไว้ต่อไป

Article Details

How to Cite
ไหว้พรหม น., & ทองคำ เ. . (2022). แนวทางการจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบบุคลิกภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยไทยจากตัวชี้วัดไมเยอร์ บริจส์ . วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 6(2), 307–320. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/255688
บท
บทความวิจัย

References

ธาริณี สุวรมงคล. (2542). ผลของบุคลิกภาพตามแบบไมเยอร์ บริจจ์ที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของวิศวกรขาย (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นันท์นภัส ตั้งภรณ์พรรณ. (2553). แบบแผนความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพกับการเผชิญปัญหาและฝ่าฟันอุปสรรคของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา (วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

ทัตยา หงส์สิทธิ์. (2531). การศึกษาบุคลิกภาพของศึกษานิเทศก์สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ เขตการศึกษา 6 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เบญจวรรณ ถนอมชยธวัช และคณะ. (2559). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21: ความท้าทายในการพัฒนานักศึกษา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 3(2), 208-222.

ปณิธี พลนิรันดร์. (2548). ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพกับความฉลาดทางอารมณ์ของพนักงานธนาคารออมสิน ในจังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

รวิวรรณ ศรีสุชาติ. (2540). การพัฒนามาตรวัดบุคลิกภาพของไมเยอร์ บริจก์ ฟอร์ม ฉบับภาษาไทย เพื่อศึกษา เปรียบเทียบบุคลิกภาพของผู้ให้การปรึกษาในโรงเรียน และผู้ทําหน้าที่ให้บริการปรึกษาจากวิชาชีพ ให้ความช่วยเหลืออื่น ๆ (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคําแหง.

วรางคณา โสมะนันท์. (2561). การศึกษาบุคลิกภาพของนิสิตในรายวิชาหลักการแนะแนวด้วยแบบทดสอบMBTI. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 5(3), 494-512.

ศรีเรือน แก้วกังวาน. (2536). จิตวิทยาบุคลิกภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: หมอชาวบ้าน.

สาธนี เปรมปรีดิ์ และพัชนี จินชัย. (2558). การศึกษาบุคลิกภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิตามแบบวัดบุคลิกภาพของไมเยอร์ บริกจ์ (MBTI). วารสารวิทยศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคามฉบับพิเศษ, 514-521.

สุภาพร ชูสาย. (2556). การศึกษาบุคลิกภาพและความสามารถในการปรับตัวของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.ราชภัฏเพชรบูรณ์สาร,15(2),135-144.

สุรชัย คงประเสริฐ. (2539). ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพตามแบบ MBTI กับประสิทธิภาพทีมงาน(วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุรศักดิ์ เทียบฤทธิ์. (2539). การศึกษาลักษณะบุคลิกภาพการแสดงตัว-การเก็บตัวของนักศึกษา วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น โดยใช้แบบวัดบุคลิกภาพ เอม ที่ ไอ. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Burger, J. M. (2010). Personality. (8ed.). California: Wadsworth.

Eysenck, H. J. (1947). Dimensions of Personality. London: Routledge and kegan Paul.

Jung, C. G. (1939). The Integration of the Personality. New York: Ferrar & Rinehart.

Lorin, W.A., & Krathwohl, D. (2001). A taxonomy for learning, teaching, and assessing: a revision of Bloom’s taxonomy of educational objectives. New York: Longman.

Myers, I. B., & Myers, P. B. (1980). Gifts Differing. Palo Alto, Calif: Consulting Psychologists Press.

Robbins, S.P. (1997). Essentials of Organizational Behavior. (5th ed.). New Jersey: Prentice-Hall.

Smith R. E., Sarason, I.G., & Sarason, B.R. (1982). Psychology: The Frontiers of Behavior. New York: Harper and Row.