การขึ้นเขาคีรีวงคต: วิถีพุทธกับวิถีชาวบ้านในการอนุรักษ์ป่าชุมชน ของชาวพุทธ ตำบลทุ่งมน อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์

Main Article Content

พระมหาชาญ สร้อยสุวรรณ
พระครูกิตติธรรมประสาธน์ บุตรโสม
พระครูใบฎีกาณวัฒน์ กำลังรัมย์
ธนรัฐ สะอาดเอี่ยม

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาประวัติของการขึ้นเขาคีรีวงคต 2) ศึกษาวิถีชีวิตของชาวพุทธในเขตตำบลทุ่งมน อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ และ 3)วิเคราะห์การอนุรักษ์ป่าชุมชนผ่านประเพณีการขึ้นเขาคีรีวงคต ในเขตตำบลทุ่งมน อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ โดยการศึกษาในเชิงเอกสารและลงพื้นที่สัมภาษณ์ แล้วนำเสนอด้วยวิธีการพรรณนาเชิงวิเคราะห์ ผลการศึกษา พบว่า 1) ประวัติของการขึ้นเขาคีรีวงคต เริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2500  โดยหลวงปู่ริม รตนมุณี ทำป่าชุมชนคีรีวงคตขึ้น โดยการจำลองแบบอย่างเขาวงกต ซึ่งเป็นเรื่องราวในมหาเวสสันดรชาดก ทำเส้นทางที่ซับซ้อนวกวน เพื่อเดินจงกรม และปฏิบัติธรรม 2) วิถีชีวิตของชาวพุทธในเขตตำบลทุ่งมน นับถือศาสนาพุทธทุกคน แต่ยังมีความเชื่อถือดั้งเดิมโดยเฉพาะในเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ การเซ่นไหว้ศาลปู่ตา เพื่อขอความเป็นสิริมงคล การลงแขกเกี่ยวข้าวและพิธีจองได (ผูกข้อมือ) มีการละเล่น คือ กันตรึม เรือมอันเร เจรียง   รำตรุษ และลิเกพื้นบ้าน  3) วิเคราะห์การอนุรักษ์ป่าชุมชนผ่านประเพณีการขึ้นเขาคีรีวงคต ใน 3 ด้าน คือ (1) ด้านจิตสำนึกของชุมชน  (2) ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และ (3) ด้านการฟื้นฟูสืบสานประเพณีขึ้นเขาคีรีวงคต  ด้วยคุณูปการและสำนึกในบุญคุณของหลวงปู่ริม รตนมุณี ปัจจุบันองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งมน ได้เป็นหน่วยงานประสานความร่วมมือทุกองค์กร เพื่อบูรณาการประเพณีนี้ให้เป็นแหล่งเรียนรู้เชิงบูรณาการแบบมีส่วนร่วม และสืบสานประเพณีอันดีงามนี้ต่อไป

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

เดชา บุญค้ำ. (2536). การปฏิบัติวิชาชีพภูมิสถาปัตยกรรม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประชา อินทร์แก้ว. (2542). ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: เธิร์ดเวฟ เอ็ดดูเคชั่น.

ประพันธ์ ศุภษร. (2554). วินัยกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม. ในพระมหาหรรษา ธมฺมหาโส. พุทธธรรมกับการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ. กรุงเทพฯ: 21 เซ็นจูรี่.

เปือง สันทัยพร. (2564). ปราชญ์ชาวบ้าน. ตำบลทุ่งมน อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์. สัมภาษณ์, 20 สิงหาคม.

พระครูปริยัติกิตติวรรณ. (2564). เจ้าคณะตำบลทุ่งมน-สมุด. เจ้าอาวาสวัดสะเดา รัตนาราม. ตำบลทุ่งมน อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์. สัมภาษณ์, 20 สิงหาคม.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2554). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 34). นนทบุรี: เอส.อาร์ พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ยุพิน ธรรมเที่ยง. (2564). ปลัดอบต.ทุ่งมน. ปฏิบัติหน้าที่นายก อบต.ทุ่งมน. สัมภาษณ์, 20 สิงหาคม.

สมศักดิ์ สุขวงศ์. (2550).การจัดการป่าชุมชน: เพื่อคนและเพื่อป่า. กรุงเทพฯ: ทวีวัฒน์การพิมพ์.

สมหญิง สุนทรวงษ์. (2557). ป่าชุมชนกับสังคมไทย. ศูนย์วนศาสตร์ชุมชนเพื่อคนกับป่า (รีคอฟ) ประเทศไทย, (23 กันยายน), 1-4.

สัญญา วิวัฒน์. (2549).จิตสำนึกเพื่อส่วนรวมเชิงพุทธ. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ ประจำปีของเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษา เขตภาคกลางเพื่อพัฒนาบัณฑิตอุดมคติไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

สารานุกรมเสรี. (2563).บ้านทุ่งมน (จังหวัดสุรินทร์). สืบค้นเมื่อ 21 สิงหาคม 2564, จาก https://th.wikipedia.org/wiki/บ้านทุ่งมน_(จังหวัดสุรินทร์)

สุรศักดิ์ สามประดิษฐ์. (2546). ผลิตภัณฑ์จักหวาย หมู่ที่ 6 ตำบลมหาสอน อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี. สระบุรี: ปากเพรียวการพิมพ์.

องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งมน. (2564). งานบุญประเพณีคีรีวงคต. สืบค้นเมื่อ 21 สิงหาคม 2564, จาก http://www.tungmon.go.th/page.php?pagename=data_detail&id=165.

Krajae. (2564).การอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2564, จาก http://www.krajae.go.th/attachments/1451 _การอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.pdf