แนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในพื้นที่พิเศษสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตากเขต 2 อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก

Main Article Content

กฤษฎา มีบ้านหลวง
ยุภาดี ปณะราช

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในพื้นที่พิเศษสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตากเขต 2 อำเภอแม่สอดสอด จังหวัดตาก 2) เพื่อหาแนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในพื้นที่พิเศษสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตากเขต 2 อำเภอแม่สอด สอด จังหวัดตาก พื้นที่วิจัยคือโรงเรียนในพื้นที่พิเศษสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตากเขต 2 อำเภอแม่สอดสอด จังหวัดตาก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอนและคณะกรรมการสถานศึกษาจำนวน 199 โดยใช้ตารางของเครจ์ซีและมอร์แกน (Krejcie and Morgan) และผู้ให้ข้อมูลแนวทางการบริหารงานวิชาการประกอบด้วยผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา/ศึกษาธิการจังหวัดรองผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา ศึกษานิเทศก์ ผู้อำนวยการโรงเรียน ครูหัวหน้าวิชาการ ครูผู้สอน รวมทั้งหมดจำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์การบริหารจัดการงานวิชาการ 17 ด้าน ได้ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.93 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า


1. การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในพื้นที่พิเศษสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตากเขต 2 อำเภอแม่สอด ตามกรอบขอบข่ายและภารกิจงานของโรงเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานด้านงานวิชาการ มี 17 ด้านมีสภาพมีการปฏิบัติน้อยและมีปัญหาอยู่ในระดับมาก


 2. แนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในพื้นที่พิเศษสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตากเขต 2 อำเภอแม่สอด มีทั้งหมด 7 ด้าน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติ พุทธศักราช 2542 และ แกไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

กระทรวงศึกษาธิการ.(2556). คู่มือฝึกอบรมวิทยากร การปรับกระบวนทัศน์และพัฒนาหลักสูตร สถานศึกษา. ม.ป.ท.

จันทรานี สงวนนาม. (2551). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: บุ๊ค พอยท์.

จักรพงษ์ บุญช่วย. (2556).การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาเขตพื้นที่พิเศษ สังกัดสำนักงานพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต1 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีธรรมราช.

ฉันทนา จันทร์บรรจง. (2545). การบริหารทรัพยากรบุคคลทางการศึกษา. ม.ป.ท.

ณรงค์ชัย ศรีศศลักษณ์. (2553). การนิเทศในกลุ่มบางเลน. นครปฐม: สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัด นครปฐม.

เทอดศักดิ์ จันทิมา.(2560). แนวทางการบริหารงานวิชาการโดยการใช้เครือข่ายของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงรายเขต 3. พิฆเนศวร์สาร, 13(1), 117-131.

บุญชม ศรีสะอาด. 2535. หลักการวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.

ปาณิศา ถิ่นทัพไทย. (2555). แนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนที่ขาดแคลนครูในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตากเขต 2 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

ภารดี อนันต์นาวี. (2552). หลักการ แนวคิด ทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา ฉบับปรับปรุง. ชลบุรี: มนตรี.

รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2553). การบริหารงานวิชาการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (พิมพ์ครั้งที่ 4). สงขลา:

นาศิลป์โฆษณา.

สำนักนายกรัฐมนตรี. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแหงชาติ. (2545). การประเมินการเรียนรูที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ: แนวคิดและวิธีการ. พิมพครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: วัฒนาพานิช.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550 ก). แนวทางการกระจายอำนาจการบริหาร และการจัดการศึกษาให้คณะกรรมการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑและวิธีการกระจายอำนาจบริหารและจัดการศึกษา พ.ศ.2550. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตากเขต 2. (2560). ข้อมูลสถานศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตากเขต2560. สืบค้น 5 เมษายน 2560, จาก http://www.takesa2.go.th/site/index.php