การส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มอำเภอศรีรัตนะ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4

Main Article Content

กิติศักดิ์ ภักดิ์ใส

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มอำเภอศรีรัตนะ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4 รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ พื้นที่วิจัย คือ สถานศึกษา กลุ่มอำเภอศรีรัตนะ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ  เขต 4 กลุ่มตัวอย่างคือ ครูผู้สอนในโรงเรียน กลุ่มโรงเรียนศรีรัตนะ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4 จำนวน 184 คน ใช้วิธีคัดเลือกโดยการเทียบสัดส่วนจำนวนครูในแต่ละโรงเรียนและทำการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 1 ชนิด คือ
1) แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ การหาค่าเฉลี่ย  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า


ผลการวิจัยการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 อยู่ในระดับมาก 4 ด้าน เรียงจากคะแนนสูงไปต่ำ คือ 1) ด้านการจัดหาสื่อการเรียนการสอนและแหล่งเรียนรู้ 2) ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 3) ด้านการจัดการเรียนการสอน และ 4) ด้านการพัฒนาหลักสูตร อยู่ในระดับปานกลาง 1 ด้าน คือ ด้านการพัฒนาครู ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในด้านการพัฒนาหลักสูตร ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการจัดหาสื่อการเรียนการสอนและแหล่งการเรียนรู้ ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ด้านการพัฒนาครู ให้เกิดการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ได้ดียิ่งขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา คุณารักษ์. (2535). หลักสูตรและการพัฒนาหลักสูตร. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย ศิลปากรวิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.

กิดานันท์ มลิทอง. (2556). สื่อการสอนและฝึกอบรมจากสื่อพื้นฐานถึงสื่อดิจิทัล. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ขวัญตา ศรัทธาพันธ์. (2556). สภาพและปัญหาการจัดทำและใช้หลักสูตรสถานศึกษาในกลุ่มโรงเรียนเครือข่ายสถานศึกษาที่ 7 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

ใจทิพย์ เชื้อรัตนพงษ์. (2539). การพัฒนาหลักสูตร หลักการและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: อลีนเพลส.

ชมพู โกติรัมย์. (2551). จิตสำนึกทางสังคม ปัจจัยหลักการพัฒนาประเทศ.วารสารสังคมพัฒนา, 36(1), 61-64.

ชวลิต เข่งทอง. (2559). เอกสารประกอบการบรรยายเรื่องสื่อการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: สำนักพัฒนาเทคนิคการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2556). การพัฒนาหลักสูตร ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: วีพรินท์.

ทิพสุคนธ์ บุญรอด และ มัทนา วังถนอมศักดิ์. (2564). ภาวะผู้นำมุ่งบริการของผู้บริหารสถานศึกษากับคุณภาพชีวิตการทำงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. วารสารศิลปการจัดการ, 5(2), 486-500.

ธนัฏฐา วุฒิวณิชย์. (2563). รูปแบบการนิเทศที่มีประสิทธิผลต่อการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนเทศบาลวัดท่าสะต๋อย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารการศึกษาและพัฒนาสังคม, 15(2), 302-314.

ธำรง บัวศรี. (2542). ทฤษฎีหลักสูตร การออกแบบและพัฒนา. กรุงเทพฯ: พัฒนศึกษาลาดพร้าว.

นาวิน คงรักษา. (2557). การพัฒนาคู่มือนักท่องเที่ยวจังหวัดราชบุรีแบบ eBook ผ่านระบบออนไลน์. ราชบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สถาบันวิจัยและพัฒนา.

บุญเลี้ยง ทุมทอง. (2553). การพัฒนาหลักสูตร Curriculum Development. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปริยวิศว์ ชูเชิด และพฤกษ์ภูมิ ธีรานุตร. (2560). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารผ่าน เครือข่าย อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง 3G หรือ 4G ในการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21, วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 3(3), 84.

มยุรีย์ ทิพย์ญาณ และวีระวัฒน์ อุทัยรัตน์. (2562). รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาที่ส่งเสริมพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนเอกชนการกุศล. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, 10(67), 264.

วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง และอธิป จิตฤกษ์. (2556). ทักษะแห่งอนาคตใหม่การศึกษาเพื่อศตวรรษที่21. กรุงเทพฯ: โอเพ่นเวิลด์ส.

วิจารณ์ พานิช. (2555). องค์แห่งการเรียนรู้และการจัดการความรู้. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ตถาตาพับบลิเคชัน.

วิชัย ประสิทธิ์วุฒิเวชช์. (2542). การพัฒนาหลักสูตรสานต่อที่ท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: เซ็นเตอร์ ดิสคัฟเวอรี.

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2554). จากหลักสูตรแกนกลางสู่หลักสูตรสถานศึกษา กระบวนการทัศน์ใหม่การพัฒนา. กรุงเทพฯ: จรัญสนิทวงศ์การพิมพ์.

วิภาวี ศิริลักษณ์, ปกรณ์ ประจัญบาน และ เทียมจันทร์ พานิชย์ผลินไชย. (2557). การพัฒนาตัวบ่งชี้ทักษะของนักเรียนในศตวรรษที่21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร,16(4), 155-165.

สมคิด สร้อยน้ำ. (2542). หลักการสอน. อุดรธานี: สำนักส่งเสริมวิชาการ สถาบันราชภัฏอุดรธานี.

สeนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2541). แบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณครู พ.ศ. 2539. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4. (2562). แผนพัฒนาการศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2562 กลุ่มเครือข่ายศรีรัตนะ. ศรีสะเกษ: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2558). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

อรวรรณ ไชยชาญ. (2563). การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

ที่จำเป็นสำหรับครูประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออก. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 14(1), 98-108.

Damnoen, P. S., Phumphongkhochasorn, P., Punwasuponchat, N., & Srichan, P. W. (2021). The Development of Learning Management Design Models in Compulsory Subjects of the Master of Education Program in Educational Administration Innovation in Order to Enhance the Characteristics of Learners According to the Needs of the Professional Education Institution Administrators. Turkish Journal of Physiotherapy and Rehabilitation 32(3), 20459 – 20466.

Moore, K. D. (2000). Classroom teaching skills. New York: McGraw - Hill.

Phumphongkhochasorn, P., Damnoen, P. S., Suwannaprateep, T., & Phoomparmarn, U. (2021). National Educational Standards and the Improvement of Thai Education System with World Class. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 5(1), 75-86.

Songsraboon, R., Thongtao, J., Damnoen, P. S., & Huanjit, P.S. (2021). Course Management Based on Outcome-Based Education (OBE) of Learning by Working in Real Conditions. Turkish Journal of Physiotherapy and Rehabilitation, 32(3), 20491 – 20499.