ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 4

Main Article Content

จักรกฤษณ์ เกษไธสง
มิตภาณี พุ่มกล่อม
พงษ์ศักดิ์ รวมชมรัตน์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 4 จำแนกตามพื้นที่การจัดการศึกษา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 4 จำนวน 280 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ ตามพื้นที่การจัดการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 1.00 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและการทดสอบค่าเฉลี่ยรายคู่โดยวิธีการของเชฟเฟ่ กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการวิจัย พบว่า


  1. ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 4 ในภาพรวมมีทักษะอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มีทักษะอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ย คือ ทักษะการเรียนรู้ รองลงมาคือ ทักษะความเป็นผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ ทักษะด้านการกำหนดนโยบายและการปกครอง ค่านิยมและจริยธรรมของการเป็นผู้นำ ทักษะการวางแผนและการพัฒนาหลักสูตร ทักษะการสื่อสารและความสัมพันธ์ระหว่างชุมชน ทักษะการบริหารจัดการองค์กร ทักษะการประเมินผลงานและบริหารงานบุคคล ทักษะในการบริหารจัดการบุคคล และทักษะการวิจัยทางการศึกษา การประเมินผลและการวางแผน

  2. การเปรียบเทียบทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 4 จำแนกตามพื้นที่การจัดการศึกษา ในภาพรวมไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษธรา ยองใย. (2561). ผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานการวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ไกรศร เจียมทอง. (2561). ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

จุมพล โพธิสุวรรณ. (2564). พฤติกรรมผู้นำเชิงยุทธศาสตร์. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(1), 135-148.

ธีระ รุญเจิรญ. (2553). ความเป็นมืออาชีพในการในการจัดการและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา (ฉบับปรับปรุง) เพื่อปฏิรูปรองสองและประเมินภายนอกรอบสาม. กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.

ปฐมสุข สีลาดเลา, เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม และ สุขุม มูลเมือง. (2559). การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(2), 20-34.

พิชญาภา สอนสร้อยทอง. (2562). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อำเภอ

แม่วงก์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2. วารสารวิจยวิชาการ, 2(2), 51-68.

มณฑาทิพย์ นามนุ. (2561). ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

วิจารณ์ พานิช¬. (2558). แนวโน้มการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

สุวรรณา เหือน และ บุญมี เณรยอด. (2563). การศึกษาการบริหารงานวิชาการ: กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านขุนประเทศ เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 2(1), 1-12.

โสมวลี ชยามฤต. (2564). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อรองรับยุคดิจิทัลขององค์การภาครัฐและเอกชน. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(1), 35-80.

อภิรักษ์ บุปผาชื่น. (2563). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม: การขับเคลื่อนองค์การสู่ความเป็นเลิศ. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 4(3), 205-216.

อรสา มาสิงห์. (2560). การพัฒนาภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

Best, J. W. (1981). Education research. New Jersey: Prentice-Hall.

Hoyle, J. R., English, F. W., & Steffe, B. E. (2005). Skill for successful 21st-century school leaders. Maryland: Lanham.

Katz, R. L. (1971). Skills of an effective administrator. Harvard business review, executive success making it in management. Massachusetts: University Press Cambridge.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.