การศึกษาสภาพการบริหารและแนวทางการพัฒนางานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2

Main Article Content

อภิชาติ คำหาญ
เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม
นพพงษ์ บุญจิตราดุลย์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียน ดำเนินการ 2 ขั้นตอน 1) ศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นครูผู้สอนในโรงเรียนขนาดเล็ก เขต 2 จำนวน 98 คน และขั้นตอนที่ 2 ศึกษาแนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลหลัก 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 35 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ .98 และแบบสัมภาษณ์การพัฒนาการบริหารงานวิชาการสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็กโดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อด้าน ทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด ยกเว้นด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา และด้านการพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษาอยู่ในระดับมาก 2) แนวทางการพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนได้เสนอไว้แล้ว 7 ด้าน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กัญยาภรณ์ กิ่งไทร, กมลทิพย์ ศรีหาเศษ และ สุวิมล ติรกานันท์. (2564). การศึกษาทักษะการอยู่รอดทางดิจิทัลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(2), 678-693

แคทรียาภรณ์ อินทิพย์. (2559). การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาที่มีนักเรียนต่างด้าว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 และ เขต 2 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

ธนารักษ์ สารเถื่อนแก้ว. (2563). สภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในระบบอินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนการสอนของครู โรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 4(3), 233-246.

นิยม รัชตะวัฒน์วินัย. (2561). แนวทางการบริหารงานวิชาการตามหลักธรรมาภิบาลในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก จังหวัดนครสวรรค์ (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ปริศนา สีเงิน. (2559). สภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

พิมลพรรณ กุลาสา. (2559). สภาพปัญหาและแนวทางในการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 10(2), 117-120.

รุจิรา วิริยะหิรัญไพบูลย์. (2559). สภาพและแนวทางการพัฒนาการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาในอำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นทีการศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1. Southeast Bangkok Journal, 2(2), 86-92.

วีรวัฒน์ จันทรัตนะ. (2563). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างปัจจัยด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญกับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(3), 419-436.

สาคร มหาหิงค์ และ สมควร นามสีฐาน. (2561). แนวทางการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่นเขต 4. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 4(2), 17-25.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). สภาวะการศึกษาไทย ปี 2550/2551: ปัญหาความเสมอภาค และคุณภาพของการศึกษาไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: วี.ที.ซี คอมมูนิเคชั่น.

สุรนาท มีศิลป์.(2561). การศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2.วารสารอนาคตวิทยาทางการศึกษา, 5(2), 109-110.

อรนิตย์ สุวรรณไตรย์. (2558). สภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการ โรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์, 10(1), 107-109.

Damnoen, P. S., Phumphongkhochasorn, P., Punwasuponchat, N., & P Srichan, P. W. (2021). The Development of Learning Management Design Models in Compulsory Subjects of the Master of Education Program in Educational Administration Innovation in Order to Enhance the Characteristics of Learners According to the Needs of the Professional Education Institution Administrators. Turkish Journal of Physiotherapy and Rehabilitation, 32(3), 20459 – 20466.

Phumphongkhochasorn, P., Damnoen, P. S., Suwannaprateep, T., & Phoomparmarn, U. (2021). National Educational Standards and the Improvement of Thai Education System with World Class. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 5(1), 75-86.

Songsraboon, R., Thongtao, J., Damnoen, P. S., & Huanjit, P. S. (2021). Course Management Based on Outcome-Based Education (OBE) of Learning by Working in Real Conditions. Turkish Journal of Physiotherapy and Rehabilitation, 32(3), 20491 – 20499.