สภาพและแนวทางการพัฒนาการบริหารสถานศึกษากลุ่มเครือข่ายคำอาฮวนดงเย็นพัฒนศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารสถานศึกษา 2) เพื่อเปรียบเทียบสภาพการบริหารสถานศึกษา จำแนกตามขนาดของโรงเรียน และ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารสถานศึกษากลุ่มเครือข่ายคำอาฮวนดงเย็นพัฒนศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร ใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการบริหารงานวิชาการ ด้านการบริหารงานงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคล และด้านการบริหารงานทั่วไป กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก 7 คน ครูผู้สอน 63 คน ผู้บริหารโรงเรียนขนาดกลาง 9 คน ครูผู้สอน 85 คน รวมผู้บริหาร 16 คน ครูผู้สอน 148 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพและแนวทางการพัฒนาการบริหารสถานศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยการทดสอบค่าที แบบอิสระต่อกัน (t-test Independent Samples) ผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพการบริหารสถานศึกษา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ยกเว้นด้านการบริหารงานวิชาการ อยู่ในระดับปานกลาง 2. เปรียบเทียบสภาพการบริหารสถานศึกษา จำแนกตามขนาดของโรงเรียน โดยรวมและรายด้านแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยโรงเรียนขนาดกลางมีการปฏิบัติมากกว่าโรงเรียนขนาดเล็ก 3. แนวทางการพัฒนาการบริหารสถานศึกษา ได้เสนอไว้ทั้ง 4 ด้าน
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ. 2550. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2563, จาก https://www.moe.go.th/กระทรวงฯ
กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545 และ(ฉบับที่ 3) พุทธศักราช 2553 พร้อมกฎหมายที่เกี่ยวข้องและพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พุทธศักราช 2545. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).
ณัฐพงศ์ จันทนะศิริ และบุญฤทธิ์ บุญมา. (2559). กลยุทธ์การพัฒนาสถานศึกษา (Developments Strategies for Schools).สืบค้นเมื่อ 27 มิถุนายน 2563, จาก https://www.trueplookpanya.com /knowledge/content/52236/-edu-teaartedu-teaart-teaartdir-
ธงชัย สันติวงษ์. (2550).องค์การและการบริหาร (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543).ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.
ยุกตนันท์ หวานฉ่ำ.(2555).การบริหารสถานศึกษากับประสิทธิภาพของโรงเรียน ในอำเภอคลองหลวง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต1 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
รุจิรา วิริยะหิรัญไพบูลย์. (2557).สภาพและแนวทางการพัฒนาการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาในอำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์เขต 1. Southeast Bangkok Journal, 2(2), 79-94.
ลดารัตน์ ศศิธร.(2558).ศึกษาการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก โดยการจัดการเรียนร่วม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
วิชญ์ภาส สว่างใจ.(2557). การบริหารทรัพยากรทางการศึกษาของสถานศึกษา ในเขตอำเภอปลา ปากสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1. วารสารมหาวิทยาลัย นครพนม, 5(2),128-136.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร.(2562). คู่มือปฏิบัติการสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษา. มุกดาหาร: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.(2547). แผนยุทธศาสตร์สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (พ.ศ. 2547 – 2553). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สุทธิศักดิ์ นันทวิทย์. (2557). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในศตวรรษที่ 21 ของสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 6(1), 214-226.
อทิตยา ไชยโกฏิ.(2560). การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษา เครือข่ายที่ 15 นาตาด-พังเคน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 (สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชธานี.
อภิชา พุ่มพวง. (2559). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 (วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.