การบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนดีประจำตำบล ในเขตอำเภอเดชอุดม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5

Main Article Content

อนุจรี สีวะสา

บทคัดย่อ

การบริหารสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพ ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์ของนักเรียนและผู้มาใช้บริการ โดยใช้วิธีการบริหารตามหลักธรรมาภิบาล ซึ่งต้องคำนึงถึงบทบาทหน้าที่ ปฏิบัติตามระเบียบแบบแผน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนดีประจำตำบลในเขตอำเภอเดชอุดม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5และเปรียบเทียบการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียน จำแนกตามขนาดของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 186 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่า IOC เท่ากับ .98 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อและค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .97 แล้วนำไปใช้เพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบอิสระต่อกัน ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1. การบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนดีประจำตำบลในเขตอำเภอเดชอุดมสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงอันดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านหลักคุณธรรม ด้านหลักความโปร่งใส ด้านหลักความรับผิดชอบ ด้านหลักนิติธรรม ด้านหลักความมีส่วนร่วม และด้านหลักความคุ้มค่า ตามลำดับ 2. เปรียบเทียบการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียน จำแนกตามขนาดของสถานศึกษา โดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Article Details

How to Cite
สีวะสา อ. . (2021). การบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนดีประจำตำบล ในเขตอำเภอเดชอุดม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 5(3), 584–596. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/251229
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2549). แนวทางปฏิบัติงานการจัดการศึกษาของสถานศึกษานิติบุคคลในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

จำนงค์ นาหนองตูม. (2550). การนำหลักธรรมาภิบาลไปใช้ในการบริหารของผู้อำนวยการสถานศึกษาตามความคิดเห็นของข้าราชการครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 4 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน. (2554). การประยุกต์ใช้ SPSS วิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัย. มหาสารคาม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

บุญชม ศรีสะอาด. (2546). การวิจัยสำหรับครู. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ปรัชญา เวสารัชช์. (2554). หลักการจัดการศึกษา. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

พรหมเมศว์ คำผาบ. (2549).การใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานของโรงเรียน สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 1 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

ไพฑูรย์ บัวชิด. (2550). การใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 2 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชกัฏมหาสารคาม.

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย การสร้างระบบการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมมีที่ดี. (2542, 10 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 116 ตอนที่ 63 ง, หน้า 24-31.

สมบัติ ท้ายเรือคำ. (2553). ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. มหาสารคาม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5. (2562). ผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา. อุบลราชธานี: สพป.อบ.5.

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. (2559).ประกาศสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เรื่อง หลักธรรมาภิบาลของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.กรุงเทพฯ: สำนักงาน คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

สุปราณีย์ พิรักษา. (2563). การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารตามความคิดเห็นของบุคลากรวิทยาลัยอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดบึงกาฬ. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 2(1), 21-30.

โสมวลี ชยามฤต. (2564). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อรองรับยุคดิจิทัลขององค์การภาครัฐและเอกชน. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(1), 38-50.

อริย์ธัช แก้วเกาะสะบ้า. (2548). ธรรมาภิบาลกับหลักสิทธิเสรีภาพในรัฐธรรมนูญ. รัฐสภาสาร, 53

(10), 105-112.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Education and Psychological Measurement. 30(3), 607-610.