การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เวลา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้บทเรียนสื่อประสม ชุด เวลาพาเพลิน

Main Article Content

ณัฎฐา ศรีรอด
กรวิภา สรรพกิจจำนง

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของบทเรียนสื่อประสม ชุด เวลาพาเพลิน  ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์   เรื่อง เวลา ก่อนและหลังการใช้ บทเรียนสื่อประสม ชุด เวลาพาเพลิน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 25 คน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง โดยใช้แบบแผนการทดลองแบบ One Group , Pretest – Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ (1) บทเรียนสื่อประสม ชุด เวลาพาเพลิน (2) แผนการจัดการเรียนรู้ (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาคณิตศาสตร์ ที่มีค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับ เท่ากับ 0.90 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน


         ผลการวิจัยพบว่า (1) บทเรียนสื่อประสม ชุด เวลาพาเพลิน มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 75.59/75.82 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด (2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ โดยใช้บทเรียนสื่อประสมชุดเวลาพาเพลิน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐาน

Article Details

How to Cite
ศรีรอด ณ. ., & สรรพกิจจำนง ก. . . (2021). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เวลา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้บทเรียนสื่อประสม ชุด เวลาพาเพลิน. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 5(2), 371–382. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/249305
บท
บทความวิจัย

References

กิดานันท์ มลิทอง.(2557). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฐกร สงคราม. (2554). การออกแบบและพัฒนามัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร. จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย.

ดุสิต ขาวเหลือง.(2549). การบูรณาการการใช้สื่อประสมและสื่อหลายมิติเพื่อการสอนและการเรียนรู้. วารสารศึกษาศาสตร์, 18(1),30-31.

ทวีศักดิ์ กาญจนสุวรรณ. (2546). Multimedia ฉบับพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: บริษัทเคทีพีคอมพ์ แอนด์คอนซัลท์ จำกัด.

ทิศนา แขมมณี. (2556). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 17. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประชาชาติธุรกิจ. (2557). ทําไมคณิตศาสตร์ มีความสำคัญ. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2563, จากhttps://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1396009591

ประยูร อาษานาม. (2537). การเรียนการสอนคณิตศาสตร์ในระดับประถมศึกษา หลักการและแนวปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ประกายพรึก.

พิชัย วัฒนศิริ. (2541). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ที่สอนโดยใช้สื่อประสมสำหรับ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.

สุนีย์ เหมะประสิทธิ์. (2533). การพัฒนาชุดการสอนเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (ปริญญานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.