สภาพและปัญหาการบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4

Main Article Content

มาลัย พวงพิลา

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4 2) เพื่อเปรียบเทียบปัญหาการบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษาสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4 จำแนกตามขนาดของสถานศึกษา และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะการบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4 รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แนวคิดของคณะกรรมการ COSO (The Committee of Sponsoring Organization of the Tread way) (กระทรวงศึกษาธิการ, 2556) เป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือ สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นครูและผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4 จำนวน 202 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 101 คน โดยแบ่งตามขนาดของสถานศึกษา ขนาดใหญ่ 3 คน ขนาดกลาง 57 คน
และขนาดเล็ก 41 คน และตำแหน่งครู ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้างานประกันคุณภาพการศึกษา จำนวน 101 คน โดยแบ่งตามขนาดของสถานศึกษา ขนาดใหญ่ 6 คน ขนาดกลาง 116 คน และขนาดเล็ก 87 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 1 ชนิด คือ แบบสอบถามสภาพและปัญหาการบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษา เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 41 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นในสภาพการบริหารความเสี่ยง เท่ากับ 0.92 และส่วนปัญหาการบริหารความเสี่ยง เท่ากับ 0.90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t และการทดสอบค่า F ผลการวิจัยพบว่า


1. สภาพและปัญหาการบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษา พบว่า สภาพการบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด และปัญหาการบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษาโดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับน้อยที่สุด
2. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของข้าราชการครู ที่มีต่อปัญหาการบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษา จำแนกตามขนาดสถานศึกษา พบว่า โดยภาพรวมแตกต่างกัน ส่วนรายด้าน ด้านการเงิน ด้านกฎระเบียบ และด้านกลยุทธ์ โรงเรียนขนาดเล็กมีปัญหาการบริหารความเสี่ยงมากกว่าโรงเรียนขนาดใหญ่ ส่วนในด้านการดำเนินงาน โรงเรียนขนาดเล็กและโรงเรียนขนาดใหญ่ มีปัญหาการบริหารความเสี่ยงมากกว่าโรงเรียนขนาดกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ข้อเสนอการบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษา พบว่า ควรศึกษาแนวทางการบริหารความเสี่ยงของโรงเรียนขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ควรศึกษาและวางแผนการบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4 ควรมีการศึกษาเกี่ยวกับสภาพและปัญหาการบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยม สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดศรีสะเกษ

Article Details

How to Cite
พวงพิลา ม. (2021). สภาพและปัญหาการบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 5(1), 164–178. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/248988
บท
บทความวิจัย

References

กรรณิการ์ พงศ์กิตติธัช. (2553). สภาพและปัญหาการบริหารความเสี่ยงในโรงเรียนมัธยมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). คู่มือการบริหารความเสี่ยง. สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2558, จาก www.udru.ac.th/~qaudru/attachments/article/71/pdf.

กิตติรัตน์ ณ ระนอง และคณะ. (2547). แนวทางการบริหารความเสี่ยง. วารสารผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพมหานคร: ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล.

ณัชธิญา ปัทมทัตตานนท์. (2553). การจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดปทุมธานี (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตรและสังคมศาสตร. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.

บุญชม ศรีสะอาด. (2551). วิธีการทางสถิติสําหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 4. กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.

วิรัตน์ ญาณะรมย์. (2553). การบริหารงานตามมาตรฐานด้านการบริหารและการจัดการศึกษาในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4. (2558). รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. ศรีสะเกษ: กลุ่มนโยบายและแผนงาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4.

สุกิจ กรีเจริญ. (2552).การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความเสี่ยงในการบริหารโรงเรียนกวดวิชา (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร.