ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีผลต่อการส่งเสริมทักษะการ เรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาเครือข่ายปทุมราชวงศา 2 สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอํานาจเจริญ

Main Article Content

วนัทปรียา ฉลูศรี

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาของสถานศึกษาเครือข่ายปทุมราชวงศา 2 2) เพื่อศึกษาการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาเครือข่ายปทุมราชวงศา 2   และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีผลต่อการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาเครือข่ายปทุมราชวงศา 2 รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพใช้แนวคิดของแฟเรน และเคย์เป็นกรอบการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง รวมทั้งสิ้น จำนวน 105 คน คัดเลือกโดยใช้ตารางขนาดกลุ่มตัวอย่าง ด้วยวิธีการเปิดตารางสำเร็จรูปของเครซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน


ผลการวิจัยพบว่า


1. บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาของสถานศึกษาเครือข่ายปทุมราชวงศา 2 โดยภาพรวม และรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านผู้อำนวยความสะดวก ด้านผู้ให้คำปรึกษาด้านผู้ส่งเสริมสนับสนุน ด้านผู้คาดการณ์ และด้านผู้ประเมิน


2. การส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาเครือข่ายปทุมราชวงศา 2 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านมาตรฐานการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ด้านสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ด้านการพัฒนาวิชาชีพ ในศตวรรษที่ 21 ด้านหลักสูตรและการสอนในศตวรรษที่ 21 และด้านการประเมินผลทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21


3. ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีผลต่อการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาเครือข่ายปทุมราชวงศา 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ ในภาพรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ โสรัจจตานนท์. (2546). บทบาทของผู้บริหารโรงเรียนที่สัมพันธ์กับแบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณครู(วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ครรชิต ชัยกิจ, ละเอียด จงกลนี และ จุฬาพรรณภรณ์ ธนะแพทย์. (2563). ภาวะผู้นำทางวิชาการและ

พุทธวิธีในการจัดการศึกษา. วารสารวิชาการและวิจัยมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 10(3), 165-175.

ณัชช์ฑราณีย์ ศรีปานนาค (2554). บทบาทผู้บริหารโรงเรียนและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2(วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธงธิภา วันแก้ว และคณะ. (2563). ภาวะผู้นำในทศวรรษหน้าของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารศิลปการจัดการ, 4(2), 399-408.

บุญมา แพ่งศรีสาร. (2561). คุณลักษณะผู้บริหารทางการศึกษาในยุคศตวรรษใหม่. วารสาร มจร นครน่านปริทรรศน์, 2(2), 131-141.

ภาวิณี สกุณา. (2551). บทบาทของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการปฏิบัติตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ(วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ภูมิภควัธจ์ ภูมพงศ์คชศร. (2563). การบริหารจัดการชั้นเรียนเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(3), 591-600.

ศศิรดา แพงไทย. (2559). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย, 6(1), 10-11.

ศิริวรรณ ฉัตรมณีรุ่งเจริญ. (2556). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ความท้าทายในอนาคต 21st century skills. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน, 2563, จาก https://www.scribd.com/ doc/175320931/

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ:

พริกหวานกราฟฟิค.

สุขสันต์ ชัยศิริวัฒน์ (2550). บทบาทของผู้บริหารในการพัฒนาครูโรงเรียนประถมศึกษาเอกชน(วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อาทิตยา ศุกนะสิงห์ (2552). บทบาทผู้บริหารที่สัมพันธ์กับประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดเทศบาล กลุ่มการศึกษาท้องถิ่นที่ 1(วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Damnoen, P.S.P. & Phumphongkhochasorn, P. (2020). National Educational Standards and Educational Administration to Comply with International Standards. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 4(1), 31-39.

Damnoen, P.S.P., Phumphongkhochasorn, P., Songsraboon, R. & Thongtao, J. (2021). The Development of a Large Schools Management according the King’s Philosophy Model. Psychology and Education Journal, 58(1), 1615-1621.

Farren, C., & Kaye, L. B. (1996). The Leader of the Future. (3rd ed.). New York: The Drucker Foundation.