ปัญหาที่ส่งผลกระทบทางด้านการเงินต่อการขยายธุรกิจรับเหมาก่อสร้างประเภทอาคาร ของผู้รับเหมาก่อสร้างในจังหวัดนครปฐม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นต่อปัญหาที่ส่งผลกระทบทางด้านการเงินต่อการขยายธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ประเภทอาคารของผู้รับเหมาก่อสร้าง ในจังหวัดนครปฐม ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 46 ท่าน ถูกเลือกให้เป็นผู้ให้ข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถามสถิติที่ใช้ได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน T-Test การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ปัญหาต่างๆ จะถูกวิเคราะห์และเรียงลำดับตามระดับความรุนแรง ข้อมูลถูกวิเคราะห์โดยการแบ่งกลุ่มข้อมูลตามสถานภาพส่วนบุคคลและประเภทของอาคาร เพื่อคัดเลือกปัญหาที่สำคัญสำหรับผู้รับเหมาก่อสร้าง จะพิจารณาว่าเป็นปัญหาที่มีความรุนแรงมากที่สุด ปานกลาง และความรุนแรงน้อยที่สุด ตามลำดับ
ผลการวิจัยพบว่า เงินทุนที่มีจำกัด ความผันผวนของราคาวัสดุก่อสร้าง ความผันผวนทางเศรษฐกิจ และดอกเบี้ยเงินกู้ที่ปรับตัวสูงขึ้น เป็นปัญหาที่มีความรุนแรงมากที่สุดของผู้รับเหมาก่อสร้างทุกท่าน ดังนั้นปัญหาเหล่านี้ควรได้รับการควบคุมอย่างระมัดระวังเพื่อไม่ให้ประสบกับสภาวะล้มเหลวทางการเงินในการบริหารจัดการงานก่อสร้างมีข้อจำกัดในเรื่องของความร่วมมือในการตอบแบบสอบถาม ซึ่งเป็นเครื่องมือในการศึกษาจากองค์กรผู้รับเหมาก่อสร้างบางราย อีกทั้งกลุ่มเป้าหมายของการศึกษาเป็นกลุ่มของผู้รับเหมาก่อสร้างประเภทอาคาร จึงทำให้จำนวนของผู้ตอบแบบสอบถามมีจำนวนไม่มากนัก ซึ่งอาจจะมีการเพิ่มเครื่องมือในการศึกษามากขึ้น เพื่อเป็นการเพิ่มแนวทางการเก็บข้อมูลให้มีจำนวนมากยิ่งขึ้น
เรื่องของปัญหาที่ส่งผลกระทบทางด้านการเงินต่อการขยายธุรกิจรับเหมาก่อสร้างประเภทอาคาร ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายที่จำกัดและเป็นองค์การรับเหมาก่อสร้างภายในจังหวัดนครปฐม และส่วนมากเป็นองค์กรขนาดเล็ก ทำให้มุมมองในการตอบแบบสอบถามเป็นไปในแนวทางใกล้เคียงกัน เป็นความคิดเห็นขององค์กรขนาดเล็กเท่านั้น ซึ่งอาจจะมีการศึกษาเพิ่มเติมในระดับภูมิภาค และระดับประเทศต่อไป เพื่อที่จะได้มุมมองกว้างขึ้นจากองค์กรที่มีขนาดใหญ่ได้อีกด้วย
Article Details
References
พงษ์พันธ์ เปลี่ยนบางยาง. (2541). ผลกระทบด้านการจัดการเนื่องมาจากข้อกำหนดในสัญญาจ้างก่อสร้างของทางราชการ(วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต). คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พนม ภัยหน่าย. (2542). การบริหารงานก่อสร้าง. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี.
พาสิทธิ์ หล่อธีรพงศ์, ประสันน์ สายประทุมทิพย์ และสรุพงศ์ คณาวิวัฒน์ไชย. (2544). การศึกษาปัจจัยที่ทำให้ผู้รับเหมาก่อสร้างอยู่รอดได้ในสภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 7 วันที่ 17-18 พฤษภาคม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงการณ์มหาวิทยาลัย.
ไพจิตร ผาวัน และพาสิทธิ์ หล่อธีรพงศ์. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดผลกำไรในการประมูลงานของผู้รับเหมาก่อสร้าง. โยธาสสาร. ฉบับที่ 2. มีนาคม-เมษายน.
ยุทธพงษ์ กัยวรรณ์. (2543). พื้นฐานการวิจัย. กรุงเทพฯ: สุวีริยกสาส์น.
วิสูตร จิระดำเกิง. (2545). การวางแผนงานและแผนกำหนดเวลางานก่อสร้าง. กรุงเทพฯ: วรรณกวี.
สรรเพชญ พรหมประดิษฐ์. (2543). การพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับช่วยวางแผนการเงินของโครงการก่อสร้าง(วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต). คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
สุทธิ ภาษีผล. (2555). องค์ประกอบแสดงความสำเร็จของโครงการ. CPAC NEW. ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม.
Morris, W.G. (1993). Strategies for Managing Major Project. In The AMA Handbook of Project Management. Paui,C.D.(Ed.), New York: American Management Association.