การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาภาษาไทย เรื่อง การอ่าน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างการสอนโดยใช้ หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุดหมูแดงยอดนักอ่าน กับการสอนแบบปกติ

Main Article Content

พิรุณรัตน์ กว้างขวาง
กรวิภา สรรพกิจจำนง

บทคัดย่อ

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด หมูแดงยอดนักอ่าน เรื่อง การอ่าน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย เรื่องการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างการสอนโดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด หมูแดงยอดนักอ่าน กับการสอนแบบปกติ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนคลองหนองใหญ่ (ทองคำ ปานขำอนุสรณ์) สำนักงานเขตบางแค สังกัดกรุงเทพมหานคร ใช้วิธีการเลือกสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 30 คน เป็นกลุ่มทดลอง โดยใช้แบบแผนการทดลองแบบ Randomized Group, Pretest-Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด หมูแดงยอดนักอ่าน 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ที่มีค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับ เท่ากับ 0.88 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
และการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มตัวอย่างที่เป็นอิสระต่อกัน (t-test independent)


ผลการวิจัยพบว่า


1) ชุดหมูแดงยอดนักอ่าน เรื่อง การอ่าน มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 81.53/82.25 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ที่ 80/80


2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย เรื่อง การอ่าน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด หมูแดงยอดนักอ่าน สูงกว่าการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2545. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กฤษฏิกาญจน์ ภูดี. (2558). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชา ภาษาอังกฤษ ของนักเรียน

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดคู้บอน ด้วยการสอนโดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด Enjoy Asean

กับการสอนแบบปกติ (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

กฤษณา คำสิทธิ. (2556). การสร้างหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่อง ชุมชนแม่เหียะของเรา สำหรับนักเรียนชั้น

ประถมศึกษาปีที่ 3 (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

การุณันทน์ รัตนแสงวงษ์. (2556). การอ่านและการเขียนเชิงวิชาการ (พิมพ์ครั้งที่ 2) . กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แสงจันทร์การพิมพ์.

จินตนา ใบกาซูยี. (2542). การจัดทำหนังสือสำหรับเด็ก. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

จิราวรรณ อารยัน. (2556). การจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านของครูบรรณารักษ์ห้องสมุดโรงเรียนในเขต จังหวัดประทุมธานี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ฌานิกา ซึ้นสุนทร. (2559). การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติมเพื่อสร้างเสริมทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (วิทยานิพนธ์ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยตาปี.

ระวิวรรณ ทองจันทร์. (2561). การเปรียบเทียบทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและ วัฒนธรรม เรื่อง พัฒนาการของไทยสมันรัตนโดสินทร์ ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3

โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมกับวิธีการสอนแบบปกติ (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ลภัสรดา จารุสิทธิกุล. (2558). การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติมภาษาล้านนา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนท่าช้าง (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ศศินันท์ คำสด. (2559). การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติมอาเซียนน่ารู้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวาณิชย์นุกูล (ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

สุวัฒน์ วิวัฒนานนท์. (2551). ทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี:

โรงพิมพ์ซี.ซี.นอลลิดจ์ลิงคส์.

สำลี รักสุทธี. (2553). คู่มือการจัดทำสื่อ นวัตกรรมและแผนฯ ประกอบสื่อ นวัตกรรม. นนทบุรี: โรงพิมพ์เพิ่มทรัพย์การพิมพ์.