การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การออกแบบภาพกราฟิก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญ

Main Article Content

สุฑามาศ แก้วมรกต
อภิชา แดงจำรูญ

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การออกแบบภาพกราฟิก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2)เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการออกแบบภาพกราฟิก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญ ระหว่างกลุ่มที่เรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์กับกลุ่มที่เรียนด้วยวิธีการเรียนแบบปกติ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลอง ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญ ทั้งหมด 4 ห้องเรียน จำนวน 160 คน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple random Sampling) จำนวน 2 ห้องเรียน รวม 80 คน ได้แก่ กลุ่มทดลองได้รับการสอนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 40 คน และกลุ่มควบคุมได้รับการสอนแบบปกติ จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล 1) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ และ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.71 สถิติในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การทดสอบค่าที t-test for Independent sample


ผลการวิจัยพบว่า


  1. ประสิทธิภาพหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ออกแบบภาพกราฟิก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.00/82.27 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80

  2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การออกแบบภาพกราฟิก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สูงกว่าการเรียนปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์(ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ครรชิต มาลัยวงศ์. (2550). หนังสืออิเล็กทรอนิกส์. กรุงเทพฯ: สิทธิชาติการพิมพ์.

จิระพันธ์ เดมะ. (2545). หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ Electronic Book. วารสารวิทยบริการ, 13(1), 2-7.

จุรีภรณ์ ปุยะพันธ์. (2557). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การอ่านจับใจความสำคัญเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญ สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (การค้นคว้าอิสระ มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

บุญเกื้อ ควรหาเวช. (2542). นวัตกรรมการศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพฑูรย์ ศรีฟ้า. (2551). E-book หนังสือพูดได้. กรุงเทพฯ: ฐานการพิมพ์.

โรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญ, กลุ่มงานวิชาการ. (2562). รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2562 ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: โรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญ.

วารุณี คงวิมล. (2555). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องการใช้โปรแกรม PHOTOSHOP เพื่อผลิตสื่อการสอน สำหรับครูระดับประถมศึกษา (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศิรวัฒน์ สิงหโอภาส. (2559). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา สำหรับนิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยทักษิณ. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 6(2), 86-89.

อภิชา แดงจำรูญ. (2563). ทักษะชีวิต : หนังสือชุดครูผู้สร้างแรงบันดาลใจ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรสา พานิชเจริญผล. (2556). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนัดงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 17 ในจังหวัดตราด (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

Wilson, R; & Landoni, M. (2020). Electronic Textbook Design Guidelines. Retrieved August 21, 2020, from http://ebooks.strath.ac.uk/eboni/guidelines