การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง หลักเศรษฐศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญ

Main Article Content

สโรชา ภาระจ่า
อรนุช ลิมตศิริ

บทคัดย่อ

         บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สาระเศรษฐศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระเศรษฐศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์กับการเรียนปกติ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังเรียนที่เรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และ 4) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังเรียนที่เรียนแบบปกติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โดยวิธีสุ่มอย่างง่าย (Simple random Sampling) แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/9 การจัดการเรียนรู้โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E - book) และกลุ่มควบคุม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/5 การจัดการเรียนรู้แบบปกติ สถิติในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การทดสอบค่าที t-test for Independent sample ผลการวิจัยพบว่า


  1. ประสิทธิภาพหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สาระเศรษฐศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.11/82.78 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80

  2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระเศรษฐศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สูงกว่าการเรียนปกติ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ:

โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

ครรชิต มาลัยวงศ์. (2540). หนังสืออิเล็กทรอนิกส์. กรุงเทพฯ: สิทธิชาติ.

จิระพันธ์ เดมะ. (2545). หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ Electronic Book. วารสารวิทยบริการ, 13(1), 2-7.

จุรีภรณ์ ปุยะพันธ์. (2557). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การอ่านจับใจความสำคัญเพื่อ

ส่งเสริมความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญ สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถามศึกษาปีที่ 6 (การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2550). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. นนทบุรี: เนรมิตกิจ อินเตอร์ โปรแกรสซิฟ.

ทิศนา แขมมณี. (2547). ศาสตร์การสอน (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทัศนกร สมใจหวัง. (2558). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์บนแท็บเล็ต เรื่อง ความรู้สู่อาเซียน สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

บุญเกื้อ ควรหาเวช. (2542). นวัตกรรมการศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุรีวิริยสาสน์.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2542). เทคนิคการสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัย. กรุงเทพฯ:เจริญดี.

บุปผาชาติ ทัฬหิกรณ์ และคณะ, (2540). ความรู้เกี่ยวกับสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

ไพฑูรย์ สีฟ้า. (2551). E-Book หนังสือพูดได้. กรุงเทพฯ: ฐานบุ๊คส์.

รุจิรา ภูมิไชยา. (2560). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ระบบร่างกายมนุษย์ โดยใช้

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์กับการสอนแบบปกติ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

แวววิไล จำปาศักดิ์. (2560). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ลักษณนาม กลุ่มสาระการเรียนรู้

ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต).

มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ศุกรสิทธิ์ เจริญสุข. (2556). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ประวัติชาวพุทธตัวอย่าง

สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์กับการเรียนปกติ (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.