พฤติกรรมการเรียนรู้แบบเชิงรุก กรณีศึกษาแม่หญิงการะเกดจากละครเรื่องบุพเพสันนิวาส

Main Article Content

ปิยวรรณ หอมจันทร์

บทคัดย่อ

การเรียนรู้เป็นกระบวนการสร้างความรู้และเป็นการเพิ่มศักยภาพทางปัญญาให้กับมนุษย์ ปัญญาที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์และการลงมือปฏิบัติเพื่อให้เกิดทักษะความชำนาญ โดยกล่าวได้ว่ามนุษย์นั้นเป็นผู้ที่มีศักยภาพในการเรียนรู้ เป็นผู้ที่สามารถฝึกฝนได้และควรได้รับการฝึกฝน มนุษย์มีพัฒนาการที่เป็นเลิศกว่าสิ่งมีชีวิตใดๆ ในโลก ซึ่งการเรียนรู้ที่ดีเกิดขึ้นจากการสร้างองค์ความรู้ในตนเองและนำองค์ความรู้ไปสร้างสรรค์ผลงานทำให้เห็นถึงองค์ความรู้ที่เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน ซึ่งจะมีความคงทนถาวรไม่ลืมง่ายและสามารถถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจได้ดี องค์ความรู้ที่สร้างขึ้นจากการเรียนรู้นี้จะเป็นฐานให้ผู้เรียนรู้สามารถต่อยอดองค์ความรู้ใหม่ต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏพระนคร. (2544). เอกสารประกอบการสอนวิชาพฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน. กรุงเทพฯ: สถาบันราชภัฏพระนคร.(อัดสำเนา)
ชัพพร วิชชาวุธ, ธีระพร อุวรรณโณ และ พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์. (2531). พฤติกรรมจริยธรรมในสังคมไทยปัจจุบัน: ศึกษาตามแนวคิดทางจิตวิทยาสังคม. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ.
ประยงค์ มีใจซื่อ. (2557). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง
เยาวเรศ ภักดีจิตร. (2557). Active Learning กับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. เอกสารประกอบการเสวนาทางวิชาการ “วันส่งเสริมวิชาการสู่คุณภาพการเรียนการสอน” 30 กรกฎาคม 2557 ณ หอประชุม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
วรรณพร กระต่ายทอง. (2559).การพัฒนาหลักสูตรเสริมเพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมสำหรับการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรมของนักศึกษา. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 11(2), 141-165.
วิทยากรนอกกล่อง. (2561). พฤติกรรมการเรียนรู้แบบเชิงรุก Active Learning. สืบค้นเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2561 จาก https://web.facebook.com/search/top/?%20backpacker
สถาพร พฤฑฒิกุล. (2555). คุณภาพผู้เรียน เกิดจากกระบวนการเรียนรู้. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา, 6(2): 1 – 12.
สุราษฎร์ พรมจันทร์. (2550). ยุทธวิธีการเรียนการสอนวิชาเทคนิค. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.