แนวทางการจัดการเรียนการสอนมุ่งเน้นเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณทางวิชาชีพ สำหรับนักเรียนนายร้อยตำรวจ

Main Article Content

มีชัย สีเจริญ

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่อง แนวทางการจัดการเรียนการสอนมุ่งเน้นเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณทางวิชาชีพ สำหรับนักเรียนนายร้อยตำรวจ เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงสภาพปัญหา อุปสรรคและข้อจำกัดการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพตำรวจ สำหรับ นักเรียนนายร้อยตำรวจที่ผ่านมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และเพื่อศึกษาแนวทางการจัดการเรียนการสอนมุ่งเน้นเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณทางวิชาชีพตำรวจ สำหรับนักเรียนนายร้อยตำรวจ ซึ่งผู้วิจัยใช้เครื่องมือในการวิจัยแบบมีโครงสร้างที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรม ผ่านการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และการสนทนากลุ่มย่อย กลุ่มเป้าหมายผู้ให้ข้อมูลประกอบไปด้วยข้าราชการตำรวจ และประชาชนในพื้นที่ ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 พื้นที่ และสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 6 กลุ่ม สรุปผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1) ปัจจัยภายใน: ขาดต้นแบบในการดำเนินชีวิต ข้อจำกัดในรูปแบบการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนนายร้อยตำรวจ การเรียนแบบกึ่งทหาร การคัดนักเรียนยังเน้นการวัดความรู้มากกว่าจริยธรรม ปัจจัยภายนอก: ภาพลักษณ์ การไม่พัฒนาตัวเองของตำรวจ อคติของประชาชน ปัจจัยแวดล้อมของตำรวจแต่ละนาย และ 2) ควรมีการจัดการเรียนการสอนแบบคำนึงถึงผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง การฝึกอบรมในเชิงบวก การเรียนการสอนแบบ indirect instruction และต้องให้คลุกคลีกับประชาชนมากที่สุด ข้อเสนอแนะจากงานวิจัย ได้แก่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติควรคำนึงถึงนโยบายด้านคุณธรรม จริยธรรมเป็นหลัก

Article Details

How to Cite
สีเจริญ ม. . (2020). แนวทางการจัดการเรียนการสอนมุ่งเน้นเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณทางวิชาชีพ สำหรับนักเรียนนายร้อยตำรวจ. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 3(3), 197–214. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/247955
บท
บทความวิจัย

References

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2544). การเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
เกษมศานต์ โชติชาครพันธุ์, ปรีดา สถาวร, ประเสริฐ พัฒนผลไพบูลย์ และพรเพ็ญ เพชรสุขศิริ. (2556). การศึกษามาตรการป้องกันเพื่อปรับปรุงกระบวนการใช้อำนาจเกินขอบเขตกรณีเจ้าพนักงานตำรวจใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ. รายงานการวิจัย สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ.
ดวงเดือน พันธุมนาวิน. (2538). ทฤษฎีต้นไม้จริยธรรม : การวิจัยและการพัฒนาบุคคล. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ตวงเพชร สมศรี. (2556). วิธีการพัฒนาจริยธรรมของข้าราชการตำรวจเชิงพุทธบูรณาการ(วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มีชัย สีเจริญ, เทพจักรินทร์ วิน, อ่อนน้อม อิศราวุธ, ศรีภา กัญญ์ฐิตาและแจ้งสว่าง นันทิกา. (2552). แนวทางการพัฒนาตำรวจมืออาชีพของตำรวจ. สืบค้นจาก http://elibrary.trf.or.th/project_ content. asp?PJID=PDG5240020
วิจิตร์ ชาติกิจเจริญ. (2543). การใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมของตำรวจในการปฏิบัติหน้าที่: ศึกษาเฉพาะกรณีตำรวจภูธร จังหวัดนครปฐม (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหิดล.
สุมาลัย ศรีธรรมาสุข. (2550). การสอนคุณธรรมในโรงเรียนนายร้อยตำรวจ(สารนิพนธ์ศิลปาศาสตรมหาบัณฑิต). วิทยาลัยศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล.
Bandura, A. (1986). Social Foundations of Thought and Action: A Social Cognitive Theory. NJ: Prentice-Hall.