ความผูกพันต่อองค์กรและคุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

Main Article Content

ถาวร อ่อนลออ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์การและเปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การและศึกษาความสัมพันธ์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร โดยมีกลุ่มตัวอย่าง 303 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที ค่าเอฟ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


ผลการวิจัยพบว่า บุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรในภาพรวม อยู่ในระดับดี ปัจจัยลักษณะงานที่ปฏิบัติในภาพรวม อยู่ในระดับดี   และคุณภาพชีวิตในการทำงาน อยู่ในระดับดี นอกจากนี้ ยังพบว่าระดับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรที่มีอายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา ระยะเวลาปฏิบัติงาน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นอกจากนี้ยังพบว่าลักษณะงานที่ปฏิบัติในภาพรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกและมีความสัมพันธ์ในระดับสูงกับความผูกพันต่อองค์การในภาพรวมและประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน ในภาพรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกและมีความสัมพันธ์ในระดับสูงกับความผูกพันต่อองค์การในภาพรวม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรกฎ พลพานิช. (2540). ปัจจัยที่มีผลต่อองค์การของพนักงานบังคับบัญชา และพนักงานวิชาชีพ-การตลาด บริษัทปูนซีเมนต์ไทยจำกัด (มหาชน) (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์.
กาญจน์ เกตุแก้วและคณะ. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันองค์การในคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารสุข. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย, 3(3), 1-8.
จิรัสย์ พุฒิจรัสพงศ์. (2551). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสารวจและผลิต จำกัด. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). สาขาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ไฉไลฤดี ยุวนะศิริ และคณะ. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรมหาวิทยาลัย
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ชาญวุฒิ บุญชม. (2553). ความผูกพันต่อองค์การ:ศึกษาเฉพาะกรณีบุคลากรโรงเรียนอิสลามสันติชน (ภาคนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต) คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ชุตินธร สวนนุช. (2553). ความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน บริษัทเว๊บ สวัสดี จำกัด (มหาชน)(วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร.
Ahmed, K. A., Johnson, B. & Blegen, B. (1993). North Dakota’s Children: A Chartbook Perspective. Children and Family Services Division, North Dakota Dept of Human Services (Bismarck, N. D.).
Buchanan, B. (1974). Building Organizational Commitment: The Socialization of Managers in Work Organizations. Administrative Science Quarterly, 19, 535-546.
Brown, R. R. (1986). Individual situational and demographic factors predicting faculty commitment to the university. Dissertation Abstracts International, 47: 2384-A.