คุณลักษณะผู้บริหารมืออาชีพของโรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะผู้บริหารมืออาชีพของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานีเขต 2 2) เปรียบเทียบคุณลักษณะผู้บริหารมืออาชีพของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานีเขต 2 ตามความคิดเห็นของครู จำแนกตามขนาดของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครู จำนวน 330 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 50 ข้อ มีค่า IOC เท่ากับ 1 ทุกข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง .20 - .63 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .94 สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว จำแนกตามขนาดของโรงเรียน กรณีพบความแตกต่างทำการทดสอบเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยรายคู่โดยวิธีการของเซฟเฟ่ (Scheffe)
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. คุณลักษณะผู้บริหารมืออาชีพ ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากสูงไปหาต่ำ ดังนี้ 1) ด้านคุณธรรมจริยธรรม 2) ด้านการจัดระบบ 3) ด้านสังคมและชุมชน 4) ด้านวิชาการ 5) ด้านการบริหารจัดการ และ 6) ด้านการพัฒนาตนเองในเชิงบริหาร ตามลำดับ
2. เปรียบเทียบลักษณะผู้บริหารมืออาชีพ ตามความคิดเห็นของครู จำแนกตามขนาดของโรงเรียน โดยรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 5 ด้าน คือ 1) ด้านคุณธรรมจริยธรรม 2) ด้านการจัดระบบ 3) ด้านวิชาการ 4) ด้านการบริหารจัดการ และ 5) ด้านสังคมและชุมชน ส่วนอีก 1 ด้าน ไม่แตกต่างกัน คือ ด้านการพัฒนาตนเองในเชิงบริหาร
Article Details
References
กรมวิชาการ. (2544). การประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการ.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติ พ.ศ. 2542 และแกไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 พรอมกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องและพระราชบัญญัติการศึกษา ภาคบังคับ พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
ทรงสวัสดิ์ แสงมณี. (2553). คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความต้องการของครูสังกัดกรุงเทพมหานคร เขตบางขุนเทียน. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร, 4(1), 59-70.
นพพงษ์ บุญจิตราดุลย์. (2551). โน้ตย่อบริหาร. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ตีรณสาร.
พรพิมล นิยมพันธุ์. (2550). คุณลักษณะผู้บริหารมืออาชีพตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์.
รังสิทธิ์ มังคละคีรี. (2551).คุณลักษณะผู้บริหารมืออาชีพของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย เขต 3 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
เรณู กองชาญ.(2553).คุณลักษณะผู้บริหารมืออาชีพตามทัศนะของครูในอำเภอมวกเหล็ก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น.
วีระ ประเสริฐศิลป. (2546). ผูบริหารมืออาชีพ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2. (2562). รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. อุบลราชธานี: กลุ่มนโยบายและแผนงาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.(2550).แนวทางการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาให้คณะกรรมการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาตามกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ.2550.กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
อนุชา ก่อนพวง. (2550). การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความเป็นผู้บริหารมืออาชีพในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร.
David, Fred R. (2007). Strategic Management Concept and cases. (5th ed.). New Jersey: Prentice Hall.
Draft, R.L. (2001). The Leadership Experience. (2nd ed.). New York: Harcourt College Publishers.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Likert, R. (1961). New Pattern of Management. New York: McGraw-Hill.
Wood, J., W, J., and Z, R. (2001). Organizational Behavior: A Global Prospective. Brisbane: Jon Wiley
& Sons.