การศึกษาสมรรถนะและแนวทางพัฒนาด้านการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ ของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มเครือข่ายสหวิทยา เขต 8 (ศรีนครอัจจะ) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33

Main Article Content

เยาวลักษณ์ ซื่อสัตย์
สุรางคนา มัณญานนท์
เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม

บทคัดย่อ

      บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อศึกษาสมรรถนะด้านการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษาการศึกษา กลุ่มเครือข่ายสหวิทยา เขต 8 (ศรีนครอัจจะ) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 2. เพื่อหาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะด้านการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มเครือข่ายสหวิทยา เขต 8 (ศรีนครอัจจะ) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 จำนวน 281 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น 0.88 ค่าสถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 


ผลการวิจัย พบว่า


1.สมรรถนะด้านการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33  ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าความสามารถส่งเสริม สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา มีค่าเฉลี่ยในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน


2.แนวทางการพัฒนาสมรรถนะด้านการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33  สรุปได้ดังนี้


2.1 ความสามารถใช้และบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาและการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสมเห็นว่า ผู้บริหารและครูที่ปฏิบัติงานอยู่ ไม่ได้สำเร็จการศึกษาทางสาขาเฉพาะ ทำให้ขาดความรู้ ความเข้าใจ ไม่ได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นในการบริหารโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อใช้ในการเรียนการสอน จึงเห็นว่าควรมีการจัดอบรม ฝึกทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพิ่มมากขึ้น


2.2 ความสามารถประเมินการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อนำมาปรับปรุงการบริหารจัดการ เห็นว่า ผู้บริหารขาดความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักในการให้ความสำคัญต่อการประเมินการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อนำมาปรับปรุงการบริหารจัดการการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง จึงควรนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการบริหารงานภายในสถานศึกษา เพื่ออำนวยความสะดวกแก่บุคลากรและผู้มาติดต่อราชการ


2.3 ความสามารถส่งเสริม สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการศึกษา พบว่า ผู้บริหารขาดความตระหนักถึงความสำคัญ และสาเหตุด้านเครื่องมือ อุปกรณ์น้อย ไม่เพียงพอต่อจำนวนนักเรียน การทำงานช้า เครื่องมือบางชนิดมีราคาแพง ตลอดจนการดูแลรักษาต้องมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง งบประมาณสนับสนุนอย่างไม่ค่อยเพียงพอ ควรมีการระดมทุนทรัพย์เพื่อการศึกษา และส่งเสริมสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีในมากยิ่งขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กันตา กรึมสูงเนิน.(2557). การศึกษาสมรรถนะด้านการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลกเขต 3.บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

กิดานันท์ มลิทอง.(2548).เทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อการศึกษา.กรุงเทพมหานคร: อรุณการพิมพ์.

เขมนิจ ปรีเปรม.(2554).สมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศกับการบริหารระบบสารสนเทศของผู้บริหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบันฑิต). สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ครรชิต มาลัยวงศ์.(2549).ไอทีกับธุรกิจแนวคิดและแนวทาง.กรุงเทพมหานคร: ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ.

ประกาศคณะกรรมการคุรุสภา เรื่อง สาระความรูและสมรรถนะของผูประกอบวิชาชีพครู ผูบริหารสถานศึกษา และผูบริหารการศึกษาตามมาตรฐานความรูและประสบการณวิชาชีพ. (2549, 8 มิถุนายน). ราชกิจจานุเบกษา. เลม 123 ตอนที่ 56 ง. หน้า 289-305.

พระราชวุธ ปญฺญาวชิโร (เพชรไพร). (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล ตามหลักสัปปุริสธรรม 7 โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดขอนแก่น (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มาลัย วงศ์ฤทัยวัฒนา. (2562). แนวทางการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กยุคดิจิทัลสู่ความเป็นเลิศ ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 14(1), 22-30.

Cronbach, L. J. (1974). Essential of Psychological Testing. New York: Harper & Row.

Yamane, T. (1973 ). Statistics: An Introductory Analysis. 3rdEd. New York: Harper and Row Publications.