สภาพและแนวทางพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษา
2) เปรียบเทียบสภาพการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษา จำแนกตามตำแหน่ง และขนาดสถานศึกษา และ 3) ศึกษาแนวทางพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานีเขต 5 รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ พื้นที่วิจัย คือ สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานีเขต 5 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูหัวหน้างานประกันคุณภาพของสถานศึกษา จำนวน 218 คน ประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 109 คน และครูหัวหน้างานประกันคุณภาพของสถานศึกษาจำนวน 109 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างของ Krejcie and Morgan ใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพและแนวทางพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษา สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวน ANOVA และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
- สภาพการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษา ของสถานศึกษา โดยรวมอยู่ ในระดับมากที่ระดับ 4.04
- การเปรียบเทียบสภาพการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษา จำแนกตามตำแหน่ง พบว่าไม่มีความแตกต่างกัน เมื่อจำแนกตามขนาดของสถานศึกษา พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้
- แนวทางในการพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษา ของสถานศึกษา ได้เสนอไว้ 7 ด้าน ตามแนวทางการพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษา 1) การกำหนดมาตรฐานการศึกษา 2) การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษา 3)การดำเนินการตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษา 4)การประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษา 5)การติดตามผลการดำเนินการ 6)การจัดทำรายงานผลการประเมินตนเอง 7)การพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพ
Article Details
References
เกศรินทร์ แทบสี. (2557). การศึกษาการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์, 1(1), 53-65.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ภณัฐพงศ์ พลมุข. (2561). สภาพและปัญหาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 19. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 3(3), 363-376.
วารุณี บำรุงสวัสดิ์. (2554). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดนครพนม. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 1 (2), 39-46.
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2561). พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2543. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สุพิชญา กลันนุรักษ์. (2559). การดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนขนาดกลางในกลุ่มเกาะแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 (งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุพิชญา กลันนุรักษ์. (2559). การดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนขนาดกลางในกลุ่มเกาะแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 (งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). New york : Harper Collins Publishers.
Krejcie, R.V. & Morgan. (1970). Determining sample size for research activities. Journal of Education and Psychological Measurement, 30 (3), 607-610.