ผญา: การตีความตามทฤษฎีภาษาคนภาษาธรรม

Main Article Content

พระมหาไสว ฤทธิ์วิชัย

บทคัดย่อ

บทความนี้ เป็นการค้นคว้า ผญา ผู้เขียนพบและมีการรวบรวมไว้ในปัจจุบันเพื่อนำมาตีความตาม ทฤษฏี ภาษาคน ภาษาธรรม เพื่อให้ทราบแนวทางอันควรประพฤติของชาวอีสานที่เป็นผลผลิตอันเนื่องมาจากถ้อยคำที่ทำให้เกิด “ปัญญา” ผญาสามารถแบ่งออกได้ 4 ประเภทหลัก ๆ คือ 1. ผญาภาษิต 2. ผญาเกี้ยวหรือผญาเครือ 3. ผญาอวยพร 4. ผญาปริศนา แนวคิดที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อการดำรงชีวิตของชาวอีสาน มีพื้นฐานมาจากจารีต หลักธรรมของพระพุทธศาสนา เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตสอนลูกหลานให้เกรงกลัวต่อบาป โดยแฝงหลักธรรมของพระพุทธศาสนาไว้ใน ผญา ๆ เป็นคำพูดที่มีประโยชน์ เป็นคำพูดที่มีความหมายล้ำลึก ยากที่จะทำความเข้าใจได้โดยการใช้ภาษาคนทั่วไป เพราะการสอนของนักปราชญ์ชาวอีสานนั้นไม่ได้สอนตรง ๆ แต่สอนผ่านบทผญา ที่เป็นภูมิปัญญาของอีสานที่สืบต่อกันมาอย่างยาวนาน จากการตีความ ผญา ตามทฤษฏี ภาษาคน ภาษาธรรมนั้น ผู้เขียนพบว่าการสื่อสารของบรรพบุรุษชาวอีสานที่พยายามสอนลูกหลานของตนเองโดยสอนผ่านภาษา ที่เรียกว่า ภาษาคนนั้น ผู้เขียนได้เห็นถึงความชาญฉลาดของชาวอีสานเพราะกล่าวเป็นปริศนาธรรมผ่านภาษาพื้นถิ่นคือภาษาอีสาน ที่เรียกว่าภาษาคน     นั้นทำให้เกิดการจดจำเป็นเบื้องต้น เมื่อมีการศึกษาและการตีความก็ทำให้เกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงหลักธรรมที่แฝงอยู่ในบทผญาที่บันทึกไว้เป็นภาษาคนแต่การทำความเข้าใจถึงเนื้อแท้ของคำสอนนั้นต้องใช้ภาษาธรรมในการทำความเข้าใจนั่นเอง      

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

จารุบุตร เรืองสุวรรณ. (2515). ของดีอีสาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.
จารุวรรณ ธรรมวัตร. (2531). ภูมิปัญญาแห่งอีสาน รวมบทความอีสานศึกษา. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ.
ชุมเมือง ทีปกรกุล. (2520). วัฒนธรรมไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. นครราชสีมา: วิทยาลัยครู นครราชสีมา.
ทวีวัฒน์ ปุณฑริกวีวัฒน์. (2540). พุทธทาสภิกขุในบริบทของสังคมไทย. วารสารพุทธศาสน์ศึกษา, 4(2), 84-104.
ธวัช ปุณโณฑก. (2522). วรรณกรรมอีสาน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
นิตยา ภักดีบัณฑิต. (2532). ผญาภาษิต: การศึกษาเชิงวิเคราะห์(วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ.
พรชัย ศรีสารคาม. (2522). ผญาอีสาน. มหาสารคาม: อักษรการพิมพ์.
พุทธทาสภิกขุ. (2237). ภาษาคนภาษาธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ธรรมสภา.
พุทธทาสภิกขุ. (2526). ฟ้าสางระหว่าง 50 ปีที่สวนโมกข์ (ตอน 2). กรุงเทพฯ: การพิมพ์พระนคร.
พุทธทาสภิกขุ. (2549). ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์. กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ.
พุทธทาสภิกขุ. (2556). ธรรมะน้ำ ธรรมะโคลน. กรุงเทพฯ: กรีน-ปัญญาชน.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2556). อรรถกถาภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วิสุทธิ์ บุษยกุล. (2520). วิสุทธิ์นิพนธ์ .กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
สวิง บุญเจิม. (2537). ผญา ตำรามรดกอีสาน 3 . อุบลราชธานี: สำนักพิมพ์มรดกอีสาน.
สำลี รักสุทธี. (2548). ผญา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์พัฒนาศึกษา.
สิริวัฒน์ คำวันสา. (2521). อีสานคติเรื่องฮีตสิบสองครองสิบสี่. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไพศาลศิริ.
สิริวัฒน์ คำวันสา. (2521). อีสานคดี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไพศาลศิริ.
สุพรรณ ทองคล้อย. (2514). ลักษณะร้อยกรองพื้นถิ่นอีสาน(วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมปอง จันทคง. (2530). วัฒนธรรมภาษาอีสานจากผญา : ศึกษากรณีบ้านหนองเรือ ตำบลสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร(วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อดิศร เพียงเกษ. (2544). หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเรื่องบุญบาปที่ปรากฏอยู่ในบทผญาอีสาน(วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต).บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.