การบริหารงานพัสดุและสินทรัพย์ของโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายสถานศึกษาโดมประดิษฐ์ อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5

Main Article Content

สุกัญญา พิมพา

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับการบริหารงานพัสดุและสินทรัพย์ของโรงเรียน ในกลุ่มเครือข่ายสถานศึกษาโดมประดิษฐ์ อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงสำรวจใช้ระเบียบของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายสถานศึกษาโดมประดิษฐ์ อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต  5  ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ ครูผู้สอนในกลุ่มเครือข่ายสถานศึกษาโดมประดิษฐ์ อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต  5 จำนวน  113  คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 45 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยประชากร และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานประชากร
ผลการวิจัยพบว่า


การบริหารงานพัสดุและสินทรัพย์ของโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายสถานศึกษาโดมประดิษฐ์อำเภอน้ำยืน  จังหวัดอุบลราชธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงอันดับจากสูงไปหาต่ำ ได้แก่ด้านการจัดซื้อจัดจ้าง  ด้านการตรวจสอบพัสดุประจำปีและการจำหน่ายพัสดุ ด้านการจัดทำบัญชีและทะเบียนครุภัณฑ์ ด้านการจัดทำทะเบียนราชพัสดุและด้านการบำรุงรักษาและการปรับซ่อม ตามลำดับ


ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์ในการวางแผนการบริหารงานพัสดุในกลุ่มเครือข่ายสถานศึกษาโดมประดิษฐ์ ทำให้ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่พัสดุได้ทราบถึงจุดอ่อนและจุดแข็งของการบริหารงาน มองเห็นทิศทางในการพัฒนางานพัสดุและเจ้าหน้าที่งานพัสดุ ทำให้การบริหารงานพัสดุเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ.(2546). คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

ประหยัด อุตรา. (2552). การบริหารงานการเงิน พัสดุและสินทรัพย์ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

พวงทอง ศิริพันธุ์. (2551). การบริหารพัสดุของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

รัตติยา บุญเปล่ง. (2559). ความคิดเห็นของครูที่มีต่อการบริหารงานพัสดุของโรงเรียนในเครือข่ายการจัดการศึกษากระเทียม – สะกาดก้าวหน้า สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วรนุช นิชานาญ. (2560). สภาพและปัญหาการบริหารพัสดุและสินทรัพย์ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

วรีลักษณ์ วรรณวิจิตร. (2551). ความพึงพอใจต่อการบริหารงานคลังและพัสดุ คณะเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.(2552).คู่มือพัสดุ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อักษรไทย.

สุทธีรา นัยติ๊บ. (2558). การบริหารงานพัสดุของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดแพร่ (วิทยานิพนธ์ครุ

ศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.

อดิศัย เพียงเกษ. (2547). การบริหารงานพัสดุของโรงเรียนที่จัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 1 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัย

ราชภัฎเลย).

อนุชา กัลยา.(2547).การปฏิบัติงานของเจาหนาที่พัสดุ สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี (วิทยานิพนธปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.