สภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในระบบอินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนการสอนของครู โรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่

Main Article Content

ธนารักษ์ สารเถื่อนแก้ว

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในระบบอินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนการสอนของครู โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ 2) เพื่อเปรียบเทียบสภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในระบบอินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนการสอนของครูในโรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงานในโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ครูผู้สอนโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่  ภาคเรียนที่ 1   ปีการศึกษา 2563 จำนวน 110 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ด้วยการใช้ตารางสำเร็จรูปของทาโรยามาเน่ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%  และความคลาดเคลื่อน  ±10 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า  5  ระดับ  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้คอมพิวเตอร์  การหาค่าความถี่  ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (ANOVA)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในระบบอินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนการสอนของครู โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก  เมื่อพิจารณารายด้านอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน  โดยเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย  ด้านวัตถุประสงค์ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศใน ระบบอินเทอร์เน็ต ด้านปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในระบบอินเทอร์เน็ต  ด้านบริการเทคโนโลยีสารสนเทศในระบบอินเทอร์เน็ตที่ใช้เป็นประจำ  ด้านการเรียนรู้ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในระบบอินเทอร์เน็ต และด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในระบบอินเทอร์เน็ตด้านการจัดการเรียนการสอน ตามลำดับ  ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 โดยสรุปสาระสำคัญสั้นๆ
2. ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 การเปรียบเทียบสภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในระบบอินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนการสอนของครู จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงานของครู ในโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ ได้ผลไม่แตกต่างกัน
ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้จึงสามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนา วางแผน เทคโนโลยีสารสนเทศในระบบอินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนการสอนของครู โรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่

Article Details

How to Cite
สารเถื่อนแก้ว ธ. (2020). สภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในระบบอินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนการสอนของครู โรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 4(3), 233–246. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/247712
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542. กรุงเทพฯ: สยาม

สปอร์ต ซินดิเคท.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

กาญจนา สิ่งประสงค์. (2563). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องโครงสร้างไวยากรณ์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนโดยวิธีการสอนแบบStudent Teams Achievement Divisions (STAD) และวิธีการสอนแบบ Grammar translation. Journal of Modern Learning Development, 5(4), 82-91.

กุลณัฐ เหมราช, พิทักษ์ นิลนพคุณ, อุษา คงทอง และ วรสรณ์ เนตรทิพย์. (2563).การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะที่จำเป็นในการดำรงชีวิตสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. Journal of Modern Learning Development, 5(3), 46-59.

นัทธีรัตน์ พีระพันธุ์, อิทธิพัทธ์ สุวทันพรกูล และ แจ่มจันทร์ ศรีอรุณรัศมี. (2561). การกำหนดกรอบสมรรถนะและนำเสนอแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของครูในศตวรรษที่ 21. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 11(2), 745-762.

บุญชม ศรีสะอาด. (2541). การพัฒนาการสอน. กรุงเทพฯ: ชมรมเด็ก.

ภัณฑิลา ธนบูรณ์นิพัทธ์. (2563). สมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของครูไทยในศตวรรษที่ 21. สืบค้นเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2563 จาก https://researchcafe.org/communications-technology competencies-for-thai-teachers-in-the-21st-century.

ภาพร พุฒิธนกาญจน์ และฐิติมา วทัญญูคุณากร. (2563). การใช้สื่ออย่างสร้างสรรค์สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีในกรุงเทพมหานคร. วารสารศิลปการจัดการ, 4(2), 293-307.

สพลเชษฐ์ ประชุมชัยและ หทัยชนก อ่างหิรัญ. (2563). ค่าย Jolly Phonics เพื่อพัฒนาการออกเสียงภาษาอังกฤษของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 โรงเรียนพื้นที่สูงในจังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(2), 273-286.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สุปวีณ์ ชมพูนุช. (2563). ผลการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนแบบ เอส คิว โฟว์อาร์ ที่มีต่อความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจและความสามารถในการเขียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารศิลปการจัดการ, 4(2), 355-370.

Phrapalad Somchai Payogo (Damnoen) and Phumphongkhochasorn. P. (2020). The Development of the Innovative Model of School Administration in the Secondary Education Area Office 18. Solid State Technology, 63(2s), 2058-2065.