สภาพและปัญหาการนิเทศภายในของสถานศึกษาในอำเภอบุณฑริก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5

Main Article Content

ปฏิพัทธ์ น้อมสูงเนิน
สุรางคนา มัณยานนท์
สุรศักดิ์ หลาบมาลา
นวรัตน์วดี ชินอัครวัฒน์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูต่อสภาพและปัญหาการนิเทศภายในของสถานศึกษาในอำเภอบุณฑริก เมื่อจำแนกตามวุฒิการศึกษาและขนาดของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ ครูในอำเภอบุณฑริก จำนวน 228 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยใช้แนวคิดการนิเทศภายในของแนวคิดของกลิคแมน กอร์ดอนและรอส กอร์ดอน ผลการวิจัยพบว่า
1) สภาพการนิเทศภายในของสถานศึกษาในอำเภอบุณฑริก โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ปัญหาการนิเทศภายในของสถานศึกษาในอำเภอบุณฑริก โดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย 3) สถานศึกษาที่ครูมีวุฒิการศึกษาต่างกันคือ ปริญญาตรีและสูงกว่าปริญญาตรีมีสภาพการนิเทศภายในแตกต่างกันในภาพรวมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4) โรงเรียนที่มีขนาดแตกต่างกันคือ โรงเรียนขนาดเล็ก ขนาดกลางและขนาดใหญ่ มีสภาพการนิเทศภายในแตกต่างกันในภาพรวมอย่างไม่มีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มีสภาพการนิเทศภายในแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จำนวน 2 ด้าน คือ ด้านการพัฒนาทักษะการทำงานกลุ่มและด้านการพัฒนาหลักสูตร 5) ครูที่มีวุฒิการศึกษาแตกต่างกัน คือ ปริญญาตรีและสูงกว่าปริญญาตรี มีปัญหาการนิเทศภายในแตกต่างกันในภาพรวมอย่างไม่มีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มีปัญหาการนิเทศภายในแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ ด้านการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน 6) โรงเรียนที่มีขนาดแตกต่างกันคือ โรงเรียนขนาดเล็ก ขนาดกลางและขนาดใหญ่ มีปัญหาการนิเทศ
ภายในแตกต่างกันในภาพรวมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

How to Cite
น้อมสูงเนิน ป., มัณยานนท์ ส. ., หลาบมาลา ส., & ชินอัครวัฒน์ น. . (2021). สภาพและปัญหาการนิเทศภายในของสถานศึกษาในอำเภอบุณฑริก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 5(1), 90–102. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/247608
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). คู่มือปฏิบัติงาน กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผล. กรุงเทพฯ: สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

ชลลดา สารวัน. (2559). สภาพและปัญหาการนิเทศภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อำเภอนาจะหลวยสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 (สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชธานี.

พัชรินทร์ ช่วยคิริ. (2554). การศึกษาการดำเนินงานนิเทศภายในของโรงเรียนวัดประดู่ฉิมพลี (สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พิบูลชัย ศรีเข้ม. (2552). การศึกษาสภาพและปัญหาการนิเทศภายในโรงเรียน สังกัดเทศบาลเขตการศึกษา 10 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

เมธินี สะไร . (2560). การนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มสหพัฒนา อำเภอรือเสาะ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 1 (การค้นคว้าอิสระ). มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

วิชชุดา เขียวชอุ่ม. (2561). การดำเนินงานนิเทศภายในโรงเรียนสังกัดสหวิทยาเขตทัพหลวงแจงงาม (การค้นคว้าอิสระ). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศรีสุดา แก้วทองและคณะ. (2556). การดำเนินการนิเทศภายในของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

สันติ บุญภิรมย์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ: บุคพ้อยท์.