การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน 3 หน่วยความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ จำนวนจริง โดยใช้ชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย มุกดาหาร

Main Article Content

โสรยา ไพศาลวัฒนการณ์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน 3 หน่วยความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจำนวนจริง โดยใช้ชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 2 โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย มุกดาหาร ในด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ทักษะการทำงานกลุ่ม ความมีวินัยในการเรียน และความพึงพอใจ และ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แนวคิดตามทฤษฎีสรรคนิยม (Constructivism) เป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือ โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย มุกดาหาร อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย มุกดาหาร อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร จำนวน 24 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 7  ชนิด คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจำนวนจริง จำนวน 7 แผน 2) ชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) จำนวน 7 ชุด 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบประเมินทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ 5) แบบประเมินทักษะการทำงานกลุ่ม 6) แบบประเมินความมีวินัย และ 7) แบบประเมินความพึงใจในการเรียน  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t - test)  ผลการวิจัยพบว่า
          1. ผลการเรียนรู้ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ได้แก่ ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ทักษะการทำงานกลุ่ม ความมีวินัยและความพึงพอใจ  สูงกว่าเกณฑ์ที่ร้อยละของคะแนน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
          2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน หลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
ไพศาลวัฒนการณ์ โ. (2020). การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน 3 หน่วยความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ จำนวนจริง โดยใช้ชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย มุกดาหาร. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 4(3), 368–382. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/247557
บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการ. (2546). คู่มือหลักสูตรสอน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว

จรรยา อาจหาญ. (2548). หลักสูตรและการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา. มหาสารคาม: ตักสิลา.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2544). การเรียนการสอนทีเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ: แนวคิดวิธีการเทคนิคการสอน 2. กรุงเทพฯ: เดอะมาสเตอร์กรุ๊ป แมเนจเม้นท์ จํากัด.

ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์. (2557). กระบวนการแก้ปัญหาในคณิตศาสตร์ระดับโรงเรียน. ขอนแก่น: เพ็ญพรินติ้ง

เยาวลักษณ์ ชื่นอารมณ์. (2549). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 ที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมวัฏจักรการเรียน5E(วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ระเบียบ อนันตพงศ์. (2550). ผลการใช้วิธีสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สนามของแรง และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นผสมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกันยา จังหวัดสงขลา(วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัย ทักษิณ.

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2542). พลังการเรียนรู้ในกระบวนทัศน์ใหม่. กรุงเทพฯ: เอส อาร์ ปรินติง.

สรรฤดี ดีปู่. (2554). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ในรายวิชา 4000101 วิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน. ระดับปริญญาตรี ครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์(รายงานการวิจัย). คณะครุศาสาตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2547). เรียนรู้บูรณาการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สำเริง บุญเรืองรัตน์. (2542). การวัดจิตพิสัยของมนุษย์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ไสว ฟักขาว. (2542). หลักการสอนสำหรับการเป็นครูมืออาชีพ. กรุงเทพฯ: เอมพันธ์.

อรัญญา สถิตไพบูลย์. (2550). การพัฒนาทักษะการคิดวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา เคมี ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อาซิ ดราแม. (2558). ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับวิธีแก้โจทย์ปัญหาของโพลยาที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนฟิสิกส์และความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

อาภา ธัญญะศิริกุล. (2552). การศึกษาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณ และความพึงพอใจต่อวิธีการจัดการเรียนรู้แบบ 5E ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยทักษิณ.

อุบลลักษณ์ ไชยชนะ. (2543). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความพงพอใจในการเรียนกับความสอดคลองในการเลือกคณะของนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่(วิทยานิพนธการศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ.