ปัจจัยสาเหตุที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการเรียนแบบ Active Learning ของนักศึกษามหาวิทยาลัย

Main Article Content

ธนพัฒน์ อินทวี

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยสาเหตุที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการเรียนแบบ active learning ของนักศึกษามหาวิทยาลัย และตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการเรียนแบบ active learning ของนักศึกษามหาวิทยาลัยกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานผู้วิจัยใช้ดัชนีชี้วัดความกลมกลืน ประกอบด้วยค่าไค-สแควร์ ค่าไค-สแควร์สัมพัทธ์ (X2/df) ค่าดัชนีวัดความสอดคล้องกลมกลืนเชิงสัมพัทธ์ (CFI) ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) และค่ารากที่สองของค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนกำลังสองของการประมาณ (RMSEA)


          ผลการวิจัย พบว่า จากภาพผลการศึกษาปัจจัยสาเหตุที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการเรียนแบบ active learning ของนักศึกษามหาวิทยาลัย พบว่า ตัวแปรสาเหตุมีอิทธิพลทางตรงต่อความพึงพอใจในการเรียนแบบ active learning ในทางบวกมากที่สุด คือ ผลลัพธ์ที่เกิดประโยชน์ มีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ 0.67 สำหรับผลการตรวจสอบความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีความสอดคล้องกัน โดยผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าค่าไค-สแควร์ (X2) มีค่า 32.50 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p-value = 0.49

Article Details

How to Cite
อินทวี ธ. (2020). ปัจจัยสาเหตุที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการเรียนแบบ Active Learning ของนักศึกษามหาวิทยาลัย. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 4(3), 383–394. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/247511
บท
บทความวิจัย

References

จันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ. (2548). เด็กไทยใครว่าโง่. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์อมรินทร์พริ้นติ้ง

ชไมพร กาญจนกิจสกุล. (2555). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. ตาก: โพรเจ็คท์-โฟว์.

ณัฏฐวุฒิ ทรัพย์อุปถัมภ์. (2556). ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน. จันทบุรี : คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

เมษ ทรงอาจ. (2558). รูปแบบการเรียนการสอน รายวิชาจิตวิทยาสาหรับครู (200 204) โดยใช้การสอนแบบมีส่วนร่วมของนิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น. (วิทยานิพนธ์พุทธศษสตรมหาบัณฑิต)มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง. (2554). ทักษะแห่งอนาคตใหม่ การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21. กรุงเทพ: Openworld.

วรรณี แกมเกตุ. (2551). วิธีวิทยาการวิจัยทางสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สถาพร พฤฑฒิกุล. ( 2556). ปัจจัยสภาพแวดล้อมทางการเรียนทีส่งผลต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต (วิทยานิพนธ์สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยบูรพา.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และ พเยาว์ ยินดีสุข. (2557). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อภิรดี นันท์ศุภวัฒน์. (2556). ความพึงพอใจและผลลัพธ์ของการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานในกระบวนวิชาภาวะผู้นำและการจัดการทางการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล(วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Bonwell, C. C., and Eison, J. A. (1991). Active learning: Creating excitement in the classroom. ERIC Digests (ED340272, pp. 1-4). George Washington University, Washington D.C.: ERIC Clearinghouse on Higher Education.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis: A Global Perspective. (7th ed). New Jersey: Pearson Education.