ความต้องการพัฒนาสมรรถนะของครูในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนในสหวิทยาเขต 3 พระใหญ่เขื่องใน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29

Main Article Content

ดารกา บุญกาญจน์

บทคัดย่อ

ารวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการพัฒนาสมรรถนะของครูในศตวรรษที่ 21 ในสหวิทยาเขต 3 พระใหญ่เขื่องใน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยยึดกรอบแนวคิดจากสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพของเยาวชน 8 ด้านเป็นกรอบการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูในสหวิทยาเขต 3 พระใหญ่เขื่องใน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 จำนวน 127 คน ทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยใช้วิธีการเลือกสุ่มแบบอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามความต้องการพัฒนาสมรรถนะของครูในศตวรรษที่ 21 แบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 30 ข้อ มีค่า IOC ตั้งแต่ 0.67 - 1.00 คาอำนาจจำแนก (r) อยู่ระหว่าง 0.62-0.95 และความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 ระยะเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูล ระหว่างวันที่ 16 สิงหาคม – 30 กันยายน 2563 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้


ความต้องการพัฒนาสมรรถนะของครูในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนในสหวิทยาเขต 3
พระใหญ่เขื่องใน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากสูงไปหาต่ำ ได้ดังนี้ 1) ด้านภาวะผู้นำและการทำงานเป็นทีม 2) ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมทางการศึกษา 3) ด้านความรู้ในเนื้อหาวิชา 4) ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน 5) ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ 6) ด้านการวัดและประเมินผล 7) ด้านการจัดการเรียนรู้ 8) ด้านการสื่อสารและการใช้ภาษา ตามลำดับ

Article Details

How to Cite
บุญกาญจน์ ด. (2020). ความต้องการพัฒนาสมรรถนะของครูในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนในสหวิทยาเขต 3 พระใหญ่เขื่องใน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 4(3), 345–357. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/247456
บท
บทความวิจัย

References

กนิษฐา คูณมี และคณะ. (2557). ความต้องการพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานีเขต 1-5. บูรณาการงานวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น สู่ประชาคมอาเซียน. การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมครั้งที่ 6 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จังหวัดนครปฐม ประเทศไทย. 30 – 31 พฤษภาคม 2014, 1-8.

กิดานันท์ มลิทอง. (2548). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

คมคาย ไพฑูรย์. (2560). สภาพและความต้องการในการพัฒนาสมรรถนะครูพี่เลี้ยงที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในศตวรรษที่ 21. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 12(2), 107-121.

จนิสา ช่วยสมบูรณ์ (2556). แนวทางการพัฒนาบุคลากร : กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล. (รายงานการศึกษาตามหลักสูตรปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

จริยา เหนียนเฉลย. (2549). เทคโนโลยีการศึกษา. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.

จักรพงษ์ ไชยวงศ์. (2550). ความต้องการในการพัฒนาตนเองของบุคลากรในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดร้อยเอ็ด(วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เชาวนี นาโควงศ์. (2551). สมรรถนะการปฏิบัติงานของครูผู้สอนในโรงเรียนการศึกษาพิเศษ สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พรพิศ อินทะสุระ. (2551). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น(การค้นคว้าอิสระ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย.

สุกัญญา รัศมีธรรมโชติ (2550). การจัดการทรัพยากรมนุษย์ด้วย Competency Based HRM. กรุงเทพฯ: สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ.

Heneman, H. G., Schwab, D. P., Fossum, J. A., & Dyer, L. D. (1983). Personnel/Human Resource Management. Illinois: Irwin.

Kaplan, R.S. and Norton, D.P. (2004). Strategy MAPS: Converting Intangible Asset into Tangible Outcome. New York: Harvard Business School.

McClelland, D. C. (1975). A Competency Model for Human Resource Management Specialists to Be Used In the Delivery of the Human Resource Management Cycle. Boston: Mcber.