สภาพและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการ ตามความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนบ้านตะเคียนช่างเหล็ก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3

Main Article Content

ศิวรุต บุญเชิญ
เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม
สิทธิพร นิยมศรีสมศักดิ์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการ 2) เพื่อเปรียบเทียบสภาพการบริหารงานวิชาการ และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการตามความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียนในโรงเรียนบ้านตะเคียนช่างเหล็ก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 148 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่โดยใช้วิธีการของเชฟเฟ่


ผลการวิจัย พบว่า


  1. 1. สภาพการบริหารงานวิชาการตามความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียน จำแนกตามระดับชั้น โดยรวมอยู่ในระดับมาก

2) การเปรียบเทียบสภาพการบริหารงานวิชาการตามความคิดเห็นผู้ปกครองนักเรียน จำแนกตามระดับชั้น โดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


3) แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการตามความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียน  มีข้อเสนอแนะ คือควรให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการกำหนดหลักสูตรสถานศึกษา ควรจัดสอนซ่อมเสริมให้นักเรียนที่เรียนอ่อน วัดผลประเมินผลด้วยวิธีที่หลากหลาย ควรทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนานักเรียน จัดหาสื่อมาใช้ในการเรียนการสอน จัดแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียนที่หลากหลาย ควรรายงานผลการประกันคุณภาพภายในให้ชุมชนทราบและควรจัดอบรมความรู้ให้แก่ชุมชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลรัตน์ ถือแก้ว. (2558). ความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการบริหารงานโรงเรียนถลาง

พระนางสร้าง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ตวิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ชลิดา เจริญชัย. (2561). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนกลุ่มนิคมพัฒนาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1(วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

ถาวร ดอนจันทร์โคตร. (2550). การศึกษาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย(วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

ธวัชชัย สิงห์จันทร์. (2551). แนวทางการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่

การศึกษาพะเยา เขต 1(วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

ธีระพงษ์ สืบโสดา. (2558). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดจันทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17(วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

นิลวรรณ วัฒนา. (2556). การศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดชลบุรี.(วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

มณีรัตน์ พันธ์แก่น. (2557). ปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษา สำนักงานเขตบางนา

สังกัดกรุงเทพมหานคร(วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

ยินยอม สุขเกษม. (2553). สภาพปัญหาและประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในฝัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดนครพนม(วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนครพนม.

อัจฉรี ธีระราษฎร์. (2555). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนกลุ่มบ้านฉางพัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1(วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

Godbey, C., Ronde, J. T., & Throckmorton, P. (2002). Interpreting Student Performance Through The Use Of Alternative Forms of Assessment. Retrieved from http://www.eric.ed.gov/ERICWeb Portal/Home.portal