ความสัมพันธ์ระหว่างพระพุทธศาสนากับนักบวชนอกศาสนา

Main Article Content

พระราชวัลภาจารย์ อาจารคุโณ

บทคัดย่อ

ตลอดเวลาที่พระพุทธองค์ประกาศพระพุทธศาสนาทรงทำในสังคมที่นับถือลัทธิศาสนาต่าง ๆ ที่เผยแผ่ในสังคมมาเป็นเวลายาวนาน จึงทำให้พระพุทธองค์ต้องเกี่ยวข้องกับลัทธินอกศาสนาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ พระพุทธศาสนามีความสัมพันธ์กับลัทธินอกศาสนาในหลายด้าน ทั้งความสัมพันธ์ส่วนตัว คือ ในคัมภีร์พระพุทธศาสนามีเรื่องราวกล่าวถึงพระพุทธเจ้ากับนักบวชนอกศาสนาทั้งในอดีตชาติและปัจจุบันชาติ การมีความเกี่ยวข้องกันนี้หลายเรื่องเป็นการสั่งสมบารมีจนได้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า ในกรณีนี้รวมทั้งพระอริยสาวกของพระองค์ด้วย ทางสังคม คือ พระพุทธศาสนาและนักบวชนอกศาสนาเผยแผ่ในสังคมเดียวกัน จึงทำให้ศาสดาและสาวกของศาสนาทั้งหลายมีความเกี่ยวข้องกัน เป็นไปด้วยความเรียบร้อยบ้าง มีความขัดแย้งกันบ้าง ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงก็โดยอ้อม บางครั้งเป็นเรื่องราวระหว่างพระพุทธเจ้ากับนักบวชนอกศาสนา และสาวกของนักบวชนอกศาสนา และทางคำสอน  การลัทธิต่าง ๆ ในสมัยพุทธกาลแม้มีจำนวนมาก พระพุทธองค์ก็ไม่ได้คัดค้านทุกลัทธิ ทรงเห็นด้วยกับฝ่ายสัมมาทิฏฐิว่าสอนตรงกับพระองค์ ฝ่ายที่สอนไม่ตรงกับพระองค์โต้แสดงความเห็นโต้แย้งด้วยเหตุผล ไม่ได้รุกรานจนเกิดความขัดแย้งรุนแรง ทรงให้การประนีประนอม ชี้แจงตามเหตุผลซึ่งบางครั้งก็ได้ผล บางครั้งก็ล้มเหลว วิธีการแบบนี้แสดงให้เห็นถึงความใจกว้างและท่าทีแห่งปัญญาของพระพุทธศาสนาที่มีต่อนักบวชศาสนาที่เผยแผ่คำสอนในบริบทสังคมเดียวกัน

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

จำรัส กันทวงษ์. (2531). ศึกษาเปรียบเทียบการเผยแผ่ศาสนาพุทธและศาสนาคริสต์ในกลุ่มชาวเขา: ศึกษาเฉพาะกรณี ชาวกระเหรี่ยงบ้านผาเด๊ะ ตำบลพระธาตุผาแดง อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก. (วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2537). ลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: หอรัตนชัยการพิมพ์.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2539). จาริกบุญ–จารึกธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เคล็ดไทย จำกัด.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2542). มองสันติภาพโลก ผ่านอารยธรรมโลกาภิวัตน์. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2552). พุทธธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพฯ: หอรัตนชัยการพิมพ์.

พุทธทาสภิกขุ. (2539). พุทธจริยา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สุขภาพใจ.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมิทธิพล เนตรนิมิต. (2550). มิติสังคมในพระสุตตันตปิฎก. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ชีวาภิวัฒน์.

สุรวุฒิ ยุทธชนะ. (2536). การศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยของการเปลี่ยนศาสนาจากคริสต์เป็นพุทธ และจากพุทธเป็นคริสต์: ศึกษาเฉพาะกรณีศาสนาจารย์โปรแตสเตนท์กับภิกษุชาวต่างประเทศในประเทศไทย(วิทยานิพนธ์อักษาศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.