รูปแบบส่วนประสมทางการตลาดของการท่องเที่ยวชุมชนโฮมสเตย์บ้านปราสาท อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา

Main Article Content

รสสุคนธ์ ขันคำกาศ

บทคัดย่อ

 


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อส่วนประสมทางการตลาดของการท่องเที่ยวชุมชนโฮมสเตย์บ้านปราสาท อ.โนนสูง จ.นครราชสีมาและเพื่อเสนอแนวทางที่เหมาะสมต่อรูปแบบประสมทางการตลาดของการท่องเที่ยวชุมชนโฮมสเตย์บ้านปราสาท อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ 1.หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการจัดการการท่องเที่ยวชุมชนโฮมสเตย์บ้านปราสาท ใช้การสัมภาษณ์ ซึ่งมีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง 2. ผู้ประกอบธุรกิจบริการ ใช้การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างซึ่งมีการกำหนดคำถามในการสัมภาษณ์ไว้ล่วงหน้าด้วยคำถามปลายเปิด โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง 3. กลุ่มประชาชนท้องถิ่น โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบลูกโซ่ ใช้การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง 4.กลุ่มนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาท่องเที่ยว ณ โฮมสเตย์บ้านปราสาท เป็นกลุ่มตัวอย่างสำหรับแจกแบบสอบถาม โดยใช้วิธีการสุ่มแบบบังเอิญหรือตามความสะดวก


ผลการวิจัย พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนมากมีปัจจัยจูงใจในการมาท่องเที่ยวเนื่องจากแหล่งท่องเที่ยวมีชื่อเสียง ส่วนมากเดินทางมาครั้งแรก และเดินทางมาพร้อมเพื่อน การเดินทางส่วนใหญ่มาด้วยรถส่วนตัว และมีแนวโน้มการเดินทางกลับมาอีกแน่นอน ส่วนความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อส่วนประสมทางการตลาดของการท่องเที่ยวชุมชนโฮมสเตย์บ้านปราสาท อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา พบว่า ด้านบุคลากรมีความพึงพอใจมากที่สุด ด้านที่น้อยที่สุดคือด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ซึ่งแนวทางที่เหมาะสมต่อรูปแบบประสมทางการตลาดของการท่องเที่ยวชุมชนโฮมสเตย์บ้านปราสาท ได้แบ่งออกเป็น 7 ด้าน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2554). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ พ.ศ. 2555-2559. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 25 กรกฏาคม 2559, จาก http://www.tica.or.th/images/plan_tourism2555-2559/2555-2559.pdf
กุณฑลทิพย พาณิชภักดิ์. (2554).ชุมชนคนทำถ่านกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง : กรณี บ้านเขายี่สาร อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. ในรายงานสืบเนื่องการประชุมวิชางานนำเสนอผลงานวิจัยแห่งชาติ 2554 ด้านปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (141-152). กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
ไพจิตร ประดิษฐ์ผล และมนสิชา เพชรานนท์. (2553). คุณภาพชีวิตในชุมชนท่องเที่ยวโฮมสเตย์ กรณีศึกษา โฮมสเตย์บ้านปราสาท อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา. ค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2557 http://arch.kku.ac.th/journal/
wp-content/uploads/2012/06/09-53.pdf
ศุภมาศ ศิลาน้อย. (2557). แนวทางการส่งเสริมตลาดแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศชุมชนเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา. ในรายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ครั้งที่ 3 : 2557 (207-214). ภูเก็ต : มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.
ศิริลักษณ์ สุวรรณวงศ์. (2538). ทฤษฎีและเทคนิคการสุ่มตัวอย่าง. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
สุชาดา งวงชัยภูมิ. (2551). การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านปราสาท อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพัฒนา). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น
Yamane, T. (1973). Statistic: An Introductory Analysis. New York: Harper and Row.