เครือข่ายการพัฒนาความเป็นเมืองของชุมชนต้นแบบในองค์กรชุมชนตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเครือข่ายการพัฒนาความเป็นเมืองของชุมชนต้นแบบในองค์กรชุมชนตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ผลการศึกษาพบว่า ชุมชนในตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม เป็นการบริหารชุมชนท้องถิ่นขนาดใหญ่ ประกอบด้วย 14 หมู่บ้าน 28 ชุมชน มีจำนวนประชากรทั้งหมด 24,866 คน โดยแยกเป็นชาย 11,794 คน หญิง 14,982 คน สภาพพื้นที่ของตำบลไร่ขิง มีสภาพพื้นที่ราบลุ่มมีที่ดินอุดมสมบูรณ์ มีแม่น้ำท่าจีนไหลผ่านและมีลำคลองหลายสาย จึงเหมาะสมแก่การประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรม เดิมประชากรส่วนใหญ่ใช้พื้นที่เกษตร เช่น สวนผลไม้ สวนผัก ต่อมาเมื่อมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาในด้านต่างๆ สู่ความเป็นชุมชนเมืองโดยการร่วมกันพัฒนาทั้งจากทางภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันทางสังคมอื่นๆ เป็นเครือข่ายพหุภาคีร่วมกันพัฒนาชุมชนตำบลไร่ขิง โดยการใช้วัดเป็นศูนย์กลางแห่งการพัฒนา มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาในด้านต่างๆ มากมายที่เป็นประโยชน์แก่ชุมชน และประชาชนทั่วไป เช่น โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ โรงเรียนวัดไร่ขิงสุนทรอุทิศ โรงเรียนวัดไร่ขิงวิทยา เทศบาล เมืองไร่ขิง สถาบันพัฒนาครูเป็นต้น และในส่วนของชุมชนตำบลไร่ขิงเองก็มีวิวัฒนาการ การพัฒนาอย่างต่อเนื่องจากชุมชนชนบทที่มีอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลักก้าวไปสู่ความเปลี่ยนแปลงที่เป็นชุมชนเมือง โดยการมีส่วนร่วมจากองค์กรต่างๆ จนเกิดเป็นเครือข่ายเกิดขึ้นเพื่อที่จะพัฒนาชุมชนร่วมกัน โดยอาศัยทุนพลังท้องถิ่นคือ ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ทุนทางสังคม และวัฒนธรรม ทุนทางความรู้ และทุนทางเศรษฐกิจ ที่มีอยู่ในชุมชน จึงทำให้เกิดการพัฒนาที่เปลี่ยนแปลงจากชุมชนชนบทสู่ความเป็นชุมชนเมือง โดยความร่วมมือของทุกๆ ฝ่ายในตำบลไร่ขิง
Article Details
References
ณัฐนรี ศรีทอง. (2552). การเพิ่มศักยภาพภาวะความเป็นผู้นำในงานพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
ประเวศ วะสี. (2541). ประชาคมตำบล. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.
สรรเสริญ วงศ์ชอุ่ม. (2554). การวางแผนพัฒนาประเทศ. นนทบุรี: เพชรรุ่งการพิมพ์.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.