แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมในธุรกิจยุคดิจิทัล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การเข้าสู่ยุคดิจิทัลทำให้องค์กรทั้งในภาครัฐและภาคเอกชนต่างปรับตัวเพื่อตอบรับกับกระแสการเปลี่ยนแปลงโดยหนึ่งในกุญแจสำคัญที่ช่วยพาองค์กรให้ประสบความสำเร็จ คือ ผู้นำองค์กร บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมในธุรกิจยุคดิจิทัล ซึ่งพบว่า มีแนวทางการพัฒนา 5 ด้าน ได้แก่ 1) การสร้างวิสัยทัศน์เชิงนวัตกรรม 2) การมีความรู้ความสามารถเชิงนวัตกรรม ด้วยการใช้งานเครื่องมือทางดิจิทัล มีทักษะการเรียนรู้ และการเรียนรู้สิ่งใหม่ 3) การมีส่วนร่วมเชิงนวัตกรรม ร่วมแลกเปลี่ยน ความรู้ ความคิด และมุมมอง 4) บุคลิกภาพเชิงนวัตกรรม ทั้งบุคลิกภาพภายในและบุคลิกภาพภายนอก และ 5) บทบาทหน้าที่เชิงนวัตกรรม ที่ส่งเสริมบุคลากรในการพัฒนาความรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงองค์กรให้มีประสิทธิภาพ ให้พร้อมต่อการแข่งขันแบบไร้พรมแดนในยุคดิจิทัลได้
Article Details
References
กรุงเทพธุรกิจ. (27 พฤษภาคม 2563). “New Normal” คืออะไร? เมื่อโควิด-19 ผลักเราสู่ชีวิต “ปกติวิถีใหม่”. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2563, จาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/882508.
ฐิตินันท์ นันทะศรี และคณะ. (2562). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด สำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 14 (3), 93-105.
ไทยรัฐออนไลน์. (17 ธันวาคม 2562). The Issue: “ดิจิทัล ดิสรัปชัน” คือตัวปัญหา. สืบค้นเมื่อ 28 กันยายน 2563, จาก https://www.thairath.co.th/news/business/1727105.
นิกัญชลา ล้นเหลือ. (2554). โมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). สาขาวิชาการบริหารการศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
เนาสนิตย์ สงคราม. (2556). การสร้างนวัตกรรม: เปลี่ยนผู้เรียนให้เป็นผู้สร้างนวัตกรรม จากงานวิจัยสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประเวศ วะสี. (2540). ภาวะผู้นำ: พยาธิสภาพในสังคมไทยและวิธีแก้ไข. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์พิมพ์ไทย.
ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม. (2540). ภาวะผู้นำของไทยในอนาคต: ภาวะผู้นำ ความสำคัญต่ออนาคตไทย.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์พิมพ์ไทย.
มัลลิกา ต้นสอน. (2545). การจัดการยุคใหม่. กรุงเทพฯ: เอ็กซ์เปอร์เน็ท.
รังสรรค์ ประเสริฐศรี. (2544). ภาวะผู้นำ. กรุงเทพฯ: ธนรัชการพิมพ์.
อรวรางค์ จันทร์เกษม และคณะ. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหาร ตามความคิดเห็นของพนักงานและพฤติกรรมมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการทำงานของพนักงานในอุตสาหกรรมการผลิต. วารสารวิชาการศิลปะศาสตร์ประยุกต์, 8 (1), 138-144.
อรอนงค์ โรจน์วัฒนบูลย์. (2553). การพัฒนาตัวแบบผู้นำเชิงนวัตกรรม (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต). คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.