การศึกษาการสร้างเสริมการเห็นคุณค่าของตนเองในพระพุทธศาสนาเถรวาท
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาการสร้างเสริมการเห็นคุณค่าของตนเองในพระพุทธศาสนาเถรวาท มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ (1) เพื่อศึกษาคุณค่าของมนุษย์ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท (2) เพื่อศึกษาหลักธรรมเรื่องการเห็นคุณค่าของตนเองในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท และ (3) เพื่อศึกษาข้อปฏิบัติในการสร้างเสริมการเห็นคุณค่าของตนเองในพระพุทธศาสนาเถรวาท
ผลการวิจัยพบว่า คุณค่าของมนุษย์ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท คือ คุณค่าของการได้เกิดมาเป็นมนุษย์ และคุณค่าของการดำเนินชีวิตในอัตภาพของมนุษย์ จึงควรใช้ชีวิตอยู่ด้วยความไม่ประมาท ด้วยการสร้างสรรค์คุณงามความดี มีความสามารถในการรักษาศีลให้สมบูรณ์ได้ และสามารถพัฒนาศักยภาพของตนจนกระทั่งบรรลุธรรมตามลำดับได้ ดังนั้นมนุษย์จึงควรตระหนักถึงคุณค่าของตน และควรดำรงชีวิตด้วยความไม่ประมาท ส่วนหลักธรรมเรื่องการเห็นคุณค่าของตนเอง ได้แก่ หลักสัมมาทิฏฐิ ซึ่งแบ่งออกเป็นโลกียสัมมาทิฏฐิ และโลกุตตรสัมมาทิฏฐิ, หลักปัญญา 3 ได้แก่ ปัญญาที่เกิดจากการฟัง ปัญญาที่เกิดจากการคิด และ ปัญญาที่เกิดจากการอบรม พร้อมด้วยเป้าหมายแห่งการสร้างเสริมการเห็นคุณค่าเชิงลำดับเวลา คือ อัตถะ 3 และเป้าหมายแห่งการสร้างเสริมการเห็นคุณค่าในเชิงโลกียะและ
โลกุตตระ ทั้งนี้เพื่อนำไปสู่ข้อปฏิบัติในการสร้างเสริมการเห็นคุณค่าของตนเองที่มีอยู่ 4 ประการ ได้แก่ (1) การวิเคราะห์ตนเองตามหลักจริต 6, (2) การใช้เสียงภายใน (โยนิโสมนสิการ) และภายนอก (ปรโตโฆสะและกัลยาณมิตร), (3) การประยุกต์แนวคิดเรื่องการปลูกฝังความคิดเชิงบวกทางจิตวิทยาตะวันตก กับสมถะกรรมฐานที่เป็นสัมมาสมาธิของพระพุทธศาสนาในโลกตะวันออก และ (4) การพัฒนาตนตามหลักไตรสิกขา
Article Details
References
ชัญญาภัค พงศ์ชยกร. (2557). การเจริญสติเชิงพุทธที่ประยุกต์ใช้ในจิตวิทยาเชิงบวก (สารนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2549). พุทธวิธีบริหาร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2555). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 23). กรุงเทพฯ: ผลิธัมม์.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2554). ถึงเวลา มารื้อปรับระบบพัฒนาคนกันใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 8).กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.
พุทธทาสภิกขุ. (2501). คู่มือมนุษย์. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์.
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน). (2541). ความเข้าใจเรื่องชีวิต. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2559). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. (พิมพ์ครั้งที่ 47). กรุงเทพฯ: ผลิธัมม์.
Compton, W. C., (2005). An Introduction to Positive Psychology. USA: Wadsworth Publishing.
Peterson, C. (2009). Positive psychology. Reclaiming Children and Youth, 18(2), 3-7.
Seligman, M E.P & Csikszentmihalyi, Mi. (2000). Positive Psychology: An Introduction. American Psychologist, 55,(1), 5–14.