การจัดการความขัดแย้งเพื่อสร้างความปรองดองในสังคมโลกเชิง พุทธบูรณาการ

Main Article Content

ดวงใจ ปินตามูล

บทคัดย่อ

ความขัดแย้งเป็นธรรมชาติของมนุษย์ ซึ่งยากที่จะหลีกเลี่ยงได้ สาเหตุของปัญหาความขัดแย้งสามารถแบ่งตามปัจจัยภายนอกออกได้เป็น 5 ประเภทด้วยกัน คือ 1) ความขัดแย้งด้านข้อมูล 2) ความขัดแย้งด้านผลประโยชน์ 3) ความขัดแย้งด้านความสัมพันธ์  4) ความขัดแย้งด้านโครงสร้าง และ5) ความขัดแย้งด้านคุณค่าหรือค่านิยม ในทัศนะของพระพุทธศาสนานั้น สาเหตุของความขัดแย้งเกิดมาจากการปฏิสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายใน สำหรับปัจจัยภายในได้แก่ ปปัญจธรรมคือ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ และ อกุศลมูล คือโลภะ โทสะ โมหะ โดย ทิฏฐิ ทำหน้าที่เป็นแกนกลางของปัจจัยภายในที่ทำงานร่วมกันกับอกุศลมูล จะกลายเป็นแรงผลักดันที่ทำให้เกิดสภาวะของความขัดแย้งขึ้น จนนำไปสู่ความรุนแรงในที่สุด การแก้ปัญหาความขัดแย้งนั้นแก้ไขได้ 2 ระดับโดยนำพุทธธรรมมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต ได้แก่ 1) ระดับบุคคล และ 2) ระดับสังคม เป็นการถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดจึงทำให้เข้มแข็งเจริญรุ่งเรืองและมั่นคง

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ชัจจ์ชนันต์ ธรรมจินดา และ จิตติพร เครือเนตร. (2547). ฝึกให้เป็นยอดผู้นำ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ชัยวัฒน์ สถาอานันท์. (2539). สันติทฤษฏี/วิถีวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์.
ชัยเสฏฐ์ พรหมศรี. (2550). การจัดการความขัดแย้งในองค์กร. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมราชธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ). (2542). มงคล 38 ประการ. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.
รอฮีม ปรามาส. (2547). สงครามอนาคต และนวัตกรรมทางการทหาร. กรุงเทพฯ: มติชน.
วันชัย วัฒนศัพท์. (2547). ความขัดแย้ง : หลักการและเครื่องมือแก้ปัญหา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี : สถาบันพระปกเกล้า.
Ashley Mongtague, ed. (1968). Man and Aggression. New York: Oxford University.
C. Wright mills. (1956). The Power Elite. New York: Oxford University.
Herbert Marcuse. (1969). Reason and Revolutions. New York: Humanities.
Ralf dahrendorf. (1959). Class and Class Conflict in Industrial Society. California: Standford University.
Sellin, T. (1938). Culture Conflict and Crime. New York: Social Science Research Council.