การสร้างองค์กรแห่งความสุขด้วยหลักพุทธธรรม

Main Article Content

ปรมต วรรณบวร

บทคัดย่อ

การจัดการองค์กรสมัยใหม่ในการสร้างองค์กรแห่งความสุข จะต้องสร้างสมดุลของการทำงานให้เกิดขึ้นเพื่อขับเคลื่อนองค์กรสู่การเป็นองค์กรคุณภาพ โดยอาศัยภาวะผู้นำที่ต้องร่วมกันขับเคลื่อนสุขภาวะที่สมบูรณ์ 4 ด้านคือ (1) ร่างกาย ได้แก่ การประกอบสัมมาชีพ ความปลอดภัยในการทำงานหรือสภาพแวดล้อมของการทำงานมีความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน (2) จิตใจ ได้แก่ ความมีสติ ความสงบ ความงาม และความดี ยึดมั่นในหลักธรรมของศาสนา (3) สังคม ได้แก่ สังคมสัมพันธ์ มีการสร้างความสัมพันธ์ร่วมกันในองค์กร การสร้างสังคมยุติธรรม และสร้างสังคมสันติสุข มีการประนีประนอม การแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ (4) ปัญญา ได้แก่ การส่งเสริมให้บุคลากร คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น มีอิสระได้รับความไว้วางใจในการทำงาน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ ประกอบกับการตัดสินใจตามศักยภาพในหน้าที่ที่รับผิดชอบเพื่อขับเคลื่อนองค์กรสู่การเป็นองค์กรสู่ความเป็นเลิศในอนาคต สร้างแนวทางการสร้างสุขในที่ทำงานขึ้น โดยอาศัยพรหมวิหาร 4 เป็นหลักธรรมประจำใจเพื่อให้ตนดำรงชีวิตได้อย่างประเสริฐและบริสุทธิ์เฉกเช่นพรหมเป็นแนวธรรมปฏิบัติของผู้ที่เป็นผู้ปกครองเพื่อการอยู่ร่วมกับผู้อื่น และสังคหวัตถุ ซึ่งเป็นหลักธรรมที่เป็นที่ตั้งแห่งการสงเคราะห์กัน ธรรมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจกันจนก่อให้เกิดวัฒนธรรมขององค์กร เพื่อการอยู่ร่วมกันในองค์กรอย่างมีความสุข

Article Details

How to Cite
วรรณบวร ป. . (2020). การสร้างองค์กรแห่งความสุขด้วยหลักพุทธธรรม. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 1(1), 25–38. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/247295
บท
บทความวิชาการ

References

จรรยา ดาสา.(2556). ความสุขในที่ทำงาน. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2558, จากhttp://www.il. Mahidol.ac.th/th/images/ stories/exchange/7-052_Column_6.pdf.
ธงชัย สันติวงษ์. (2538). องค์การ: ทฤษฎีและการออกแบบ. กรุงเทพฯ:ไทยวัฒนาพานิช
ปวีณา เกษเดช. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยในการทำงานกับความสุขของข้าราชการตำรวจภูธร จังหวัดปทุมธานี. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2553). ธรรมนูญชีวิต. (พิมพ์ครั้งที่ 122). กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2555). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 23). กรุงเทพฯ: ผลิธัมม์.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,
ราชบัณฑิตยสถาน. (2542). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.
วรนาถ แสงมณี. (2544). วัฒนธรรมองค์การ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ระเบียงทอง.
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. (20 มีนาคม 2554). ถอดรหัส 100 องค์การหลากสุข. สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2558, จาก http://www.hrd.nida.ac.th
สมโภชน์ นพคุณ.(2541). วัฒนธรรมองค์กรสำคัญอย่างไร. วารสารข้าราชการ, 12(2), 4.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). (17 มีนาคม 2558). Happy 8 Workplace. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2558, จาก http://www.thaihealth.or.th/Content
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (26 ตุลาคม 2554). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบเอ็ด พ.ศ. 2555 – 2559. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2558, จาก http://www.nesdb.go.th/Portals/0/news/plan/p11/ plan11.pdf
Jarden, A. (2012). Positive Psychologists on Positive Psychology. International Journal of Wellbeing, 2(2), 88–91.
Meyer, J. P., & Allen, N. J. (1991). A three- Component Conceptualization of Organizational Commitment. Human Resource Management Review, 12(3), 61-89.